ระบบจัดการข้อมูลโครงงานนักศึกษา

 

หน้าแรก โครงงาน

ค้นหาข้อมูล * กรอกข้อมูล

   
Vote Point. 0.00
0
0
0
0
0
  หัวข้อโครงงาน : การพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
  อาจารย์ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อภิชาติ เหล็กดี
  ผู้จัดทำ : นายไตรทศ ไหดงยาง
  ปีการศึกษา : 2558
  บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ 2) ประเมินคุณภาพของแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ 3) สอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จานวน 30 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินคุณภาพการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อใช้งานแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้(Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้ 1. แอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แอพพลิเคชั่น และหนังสือประกอบ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ 2. คุณภาพของแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของแอพพลิเคชั่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.58) 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแอพพลิเคชั่นด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ด เรียลลิตี้(Augmented Reality) เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)
  ..
ไฟล์โครงงาน
: สำหรับสมาชิก
 
 
 
พัฒนาโดย นายอานนท์ ธุรกิจ
นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม