Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of Multimedia’s English Vocabulary with Augmented Reality Technology
ผู้วิจัย : สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์, จิรายุ หอมทรัพย์สิน, ทศพร มะลาหอม และ พิศณุ ชัยจิตวณิชกุล
บทคัดย่อ (TH) : 

การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนสื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) และ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ สื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นมีค่า 85.16/81.45 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.51 คิดเป็นร้อยละ 51.00

Abstract : 

This research aimed 1) to develop materials for teaching English by using augmented reality technology with efficiency of 80/80, 2) to compare pretest and posttest learning achievement of the students, and 3) to study effectiveness of the index. The sample consisted 31 Prathom suksa 1 students of Udon Thani Rajabhat University Demonstration School. The tools used in this research were teaching media of English vocabulary with reality technology accessories and an learning achievement test with 20 items.
The results showed that 1) the efficiency of learning and teaching. was 85.16 / 81.45, 2) the students showed gain in learning achievement before leaning at the .05 level of significance, and 3) the effectiveness index of the media was 0.51

Keywords : Multimedia, Augmented Reality, English
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |