Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559
ชื่องานวิจัย (TH): การศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครูและสมรรถนะวิชาเอกของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา: กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่องานวิจัย (EN) : A Study on Teacher Profession and Computer Education Major Competencies of Pre-Service Teachers: Case Study of Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University
ผู้วิจัย : สุนิษา มณฑา, ณิชารีย์ ป้อมสัมฤทธิ์, วุฒิชัย พิลึก และ พิชญ์ธนพัฒน์ พรปิติภัทร
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในสมรรถนะด้านวิชาชีพครู และสมรรถนะด้านวิชาเอกคอมพิวเตอร์กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจสมรรถนะของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มีสมรรถนะด้านวิชาเอกมากกว่าสมรรถนะด้านวิชาชีพครู สมรรถนะด้านวิชาชีพครูพบว่านักศึกษามีสมรรถนะวิชาชีพครูด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ สมรรถนะด้านความรู้ และ สมรรถนะด้านวิชาเอกพบว่านักศึกษามีสมรรถนะวิชาเอกด้านคุณธรรมจริยธรรมสูงที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ สมรรถนะด้านความรู้

Abstract : 

This research is aim to study the teacher profession and computer education major competencies of pre-service teacher students in computer education major at the Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University. The sample group was 122 pre-service teacher students in computer education major. The data collection were used the competencies questionnaire for surveying. Mean, Percentage, and Standard Deviation were used to summarize the outcomes.
The research finding were: 1) the overall of competencies was in good level, 2) focusing in each competencies, there were teacher profession competencies lower than computer education major competencies, 3) focusing in teacher profession competencies, there were high competencies on Morality/Virtue and Ethics followed by interpersonal relationship and responsibility respectively, and the lowest was knowledge competency, and 4) focusing in computer education major competencies, there were high level on Morality/Virtue and Ethics followed by interpersonal relationship and responsibility respectively, and the lowest was knowledge competency. The results will be used to develop learning methods activities, and appropriated projects for competency development in the near future.

Keywords : สมรรถนะวิชาชีพครู, สมรรถนะวิชาเอก, นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |