Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยระบบ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of the Nawatwithi OTOP Community and the Promotion of Tourism through Geographic Information System (GIS) of Lampang Province
ผู้วิจัย : สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ, วีรศักดิ์ ฟองเงิน และเนตรดาว โทธรัตน์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอป
นวัตวิถีจังหวัดลำปาง 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของชุมชมโอทอปนวัตวิถีที่มีต่อระบบ กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยครั้งนี้คือ ชุมชนนวัตวิถีของจังหวัดลำปาง จำนวน 30 ชุมชน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ระบบภูมิสารสนเทศ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถี แบบประเมินประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินระบบภูมิสารสนเทศ สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอป
นวัตวิถีของจังหวัดลำปาง ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของระบบหลักที่สามารถจัดการบริหารข้อมูลได้ทั้งหมด และส่วนของระบบย่อยที่เอาไว้จัดการบริหารข้อมูลของแต่ละชุมชมทั้งหมด 30 ชุมชน 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบภูมิสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถีของจังหวัดลำปางโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ โดยรวมอยู่ที่ระดับมาก

Abstract : 

This study was to: 1) develop geo-informatics systems Promoting the OTOP community’s way of life in Lampang Province 2) Testing the efficiency of the system and 3) Study the satisfaction of the OTOP Pathway community towards the system. The subjects in this study included 30 Nawatwithi OTOP communities of Lampang Province. The tools for data elicitation were Geographic Information System (GIS) for promoting the local tourism of the Nawatwithi OTOP communities, the quality assessment form, and the satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were mean and standard deviation.
The results of the study reveal these three major findings. First, the evaluation of geo-informatics system of the OTOP communities can be divided into 2 parts: 1) the main system that provides overall data for inclusive management and 2) the subsystem that tailors to individual community management. Second, the quality assessment of GIS for promoting the tourism of the Nawatwithi OTOP communities by five experts indicated that the quality was at the highest level. Third and lastly, the results of the questionnaire showed that the subjects were satisfied with the system at a high level.

Keywords : นวัตวิถี, โอทอป, ภูมิสารสนเทศ
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |