Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of a Intelligent Plug System Control through embedded applications
ผู้วิจัย : ณัฐพงศ์ พลสยม, กาญจนา ดงสงคราม, เกียรติภูมิ กุภาพันธ์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพัฒนาองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว และ 2) ระเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพลิเคชั่น และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว จำนวน 3 คน เพื่อประเมินคุณภาพพลิเคชั่นและปลั๊กไฟอัจฉริยะ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว 2) แบบประเมินคุณภาพระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาพัฒนาองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว พบว่า องค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัวประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 แอปพลิเคชั่นควบคุมการเปิด-ปิด ปลั๊กไฟ ประกอบด้วย 1) ส่วนแสดงสถานะการทำงานของปลั๊ก 2) ตั้งเวลา เปิดปลั๊กไฟ 3) ตั้งเวลา ปิดปลั๊กไฟ 4) ส่วนบันทึกข้อมูลการ เปิด-ปิด ปลั๊กไฟ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบโครงสร้างสมองกลฝังตัว ประกอบด้วย 1) อุปกรณ์ฮาร์แวร์ ประกอบด้วย Relay Module ,บอร์ด Arduino 2) ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย Arduino IDE ส่วนที่ 3 เทคโนโลยี Internet of Things (ioT) ประกอบด้วย NETPIE CLOUD PLATFORM 2) ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่านพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัวพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract : 

The purposes of this research were : 1) to develop a Intelligent plug system control through embedded applications, and 2) to evaluate the suitability of the elements of a Intelligent plug system control through embedded applications. The target group were the 3 experts into the development of application and the embedded technology. To evaluate the quality of an application and Intelligent Plug. The tools of this research were 1) the Intelligent plug system control through embedded applications , 2) the quality of the Intelligent Plug System Control through embedded applications. Statistics used were arithmetic mean, percentage and standard deviation.
The research findings showed that ; 1) the development of a Intelligent plug system control through embedded applications found that the element of a Intelligent plug system control through embedded applications were including 3 main ; 1) The Open-Close application control Power plugs, 2) the embedded structural elements, and 3) Internet of Things (ioT). and 2) The result of the evaluation of the elements of a Intelligent plug system control through embedded applications found that the assessment of the experts were at a high level.

Keywords : Intelligent plug system, application, Embedded
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |