Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี เรื่อง แบบจำลองอะตอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of the Instructional Media with Augmented Reality Technology Entitled Atomic Model for Matthayomsuksa 4 Students
ผู้วิจัย : เกียรติภูมิ อุเหล่า, ปวรัชชา ศิริโนนรัง และ สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี เรื่อง แบบจำลองอะตอม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม วิชาเคมี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี่ต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่องแบบจำลองอะตอม แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง แบบจำลองอะตอม มีค่า 87.55/80.19 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

Abstract : 

This research aimed 1) to develop of the instructional media with Augmented reality technology entitled Atomic Model for Matthayomsuksa 4 students with the officiency of 80/80 2) to compare pretest and posttest leariry achievement of the student with learned using the developed in structinal media, and 3 to study students, satistaction with learning riate developed instruentional media, 3) The research sample consisted of 40 Matthayomsuksa 4 students at Nongbuapittayakhan School. The research tools in deeded The instructional media with Augmented reality technology entitled Atomic Model, an quality evaluation form, a learning achievement test, a satistationnaire. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and paired t-test

The results revealed that the developed instructional media had an efficiency of 87.55/80.19 The students sherved gains in learning achievement from before learning via the at developed, instructional media at the .01 level of significance indicated learning via the developed instructional media a light level.

Keywords : สื่อการเรียนการสอน, เทคโนโลยีความจริงเสริม, แบบจำลองอะตอม, วิชาเคมี
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |