Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การจำแนกเขตการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปอ ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ชื่องานวิจัย (EN) : The Classification of Tourism Areas in Ban Rong-por, Phukamyao District, Phayao Province
ผู้วิจัย : สุดารัตน์ อาจหาญ, พิพัฒน์ พงษ์แซ่พู่, นภา ราชตา, รังสรรค์ เกตุอ๊อต
บทคัดย่อ (TH) : 

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 แห่ง ในชุมชนบ้านร่องปอ ได้แก่ ป่าชุมชนม่อนผาขัน ป่าชุมชนบ้านหมู่ 7 อ่างเก็บน้ำร่องปอ ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่แก้ว โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ (ROS) ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพวิเคราะห์ใช้วิธีการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และปัจจัยด้านสังคมวิเคราะห์โดยใช้การให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า
การจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยปัจจัยด้านกายภาพ ป่าชุมชนม่อนผาขัน ป่าชุมชนบ้านหมู่ 7 และอ่างเก็บน้ำร่องปอ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในเขตพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ (SPM) ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่แก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้น/ดัดแปลง (RN-M) สำหรับการจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้วยปัจจัยด้านสังคม พบผลที่ได้สอดคล้องกับปัจจัยด้านกายภาพ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านร่องปอ ดงพ่อหนานป๊ะ และวัดสันกู่ และไม่สอดคล้องจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ป่าชุมชนม่อนผาขัน และป่าชุมชนหมู่ 7 ได้ผลจำแนกเป็นเขต
การท่องเที่ยวพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (SPNM) จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบพื้นที่เป็นภูเขามีความลาดชันและเส้นทางเดินมีความคดเคี้ยว ซึ่งเป็นข้อจำกัดของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ให้ผลได้ไม่แม่นยำนักในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา ผลการศึกษาที่ได้จะถูกนำใช้เพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนต่อไป

Abstract : 

The purpose of this study aims to classify five tourism areas in Rongpor Village including Monphakhan Community Forest, Moo.7 Community Forest, Rongpor Reservoir, Dong Phornanpa and San Kukaew Temple by using the criteria of the Recreation Opportunity Spectrum (ROS); the factors of physical using a geographic information system and the social factors using ratings from the experts. The study found that the classification of physical factors at Monphakan Community Forest, Moo.7 Community Forest and Rongppor Reservoir are classified in Semi-Primitive Motorized area (SPM). However, Dong Phornanpa and San Kukaaew Temple are classified as Roaded Natural-Modified area (RN-M). For the classification of tourism area by social factors, the result showed that it was related to the physical factors including Rongpor Reservoir, Dong Phornanpa, and San Kukaew Temple. Nonetheless, there were two main areas that did not relate to the factors; Monphakhan Community Forest and Moo 7 Community Forest that classified in Semi-primitive Non-Motorized area (SPNM). The different experimental results of two factors are caused by limitations of a geographic information system that provide a discrepant result in a mountainous area. Furthermore, the proposed results will be used to provide guidelines for organizing eco-tourism activities of the Ban Rong-por.

Keywords : Recreation opportunity spectrum (ROS), Geographic Information System, Eco-Tourism
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |