Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (Brain-Based Learning: BBL)
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of Computer Assisted Instruction Using Brain-Based Learning Approach on Topic: The Spelling Words for Prathom Suksa 3 Students
ผู้วิจัย : มานะ โสภา, พรพิมล ยอดดงบัง และ พัชรินทร์ พิสัยพันธุ์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง เรื่อง การสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ (3) แบบทดสอบย่อย จำนวน 4 ชุด รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และสถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.00/86.30 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับพอใจปานกลาง ( = 2.15, S.D. = 0.82)

Abstract : 

The purposes of this research were (1) to develop the computer assisted instruction (CAI) using the Brain-Based Learning (BBL) approach on topic: The Spelling Words for Prathom Suksa 3 students (2) compare pretest-posttest students learning achievement with the developed CAI and (3) to study the satisfaction towards the developed CAI. The sample group was conducted under the purposive sampling technique and consisted of 19 in first section Prathom Suksa 3 students from Anuban Sankkom School, Sankkom district, Udon Thani province, who were studying in second semester of the academic year 2015. The research tools included: (1) the developed CAI (2) 20 items of learning achievement test (3) 20 items from 4 subchapters test and (4) the satisfaction questionnaire. Statistics used for data analyses were mean, standard deviation, percentage, efficiency (E1/E2) and t-test dependent samples.

The results showed that: (1) the developed CAI had efficiency (E1/E2) at 85.00/86.30 (2) The learning achievement had posttest score higher than pretest score at significant level .05 and (3) the satisfaction of sample groups also showed at moderately level ( = 2.15, S.D. = 0.82)

Keywords : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง, การสะกดคำไทย
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |