Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน
ชื่องานวิจัย (EN) : Developing a Model of Technology for the Management Information Technology for Flipped Classroom Using Project Based Learning
ผู้วิจัย : ฉัฐระพี โพธิ์ปิติกุล*, ธรัช อารีราษฎร์, และเผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียน
การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ การเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 นโยบาย กรอบแนวคิด เป้าหมาย ส่วนที่ 2 หลักการ ทฤษฎี ส่วนที่ 3 ระบบการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน ส่วนที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในระบบจัดการเรียนการสอน ส่วนที่ 5 ตัวบ่งชี้ของรูปแบบ และ 2) ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ความเหมาะสมด้านนโยบาย กรอบแนวคิดและเป้าหมาย ความเหมาะสมด้านรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน ความเหมาะสมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในระบบจัดการเรียนการสอน ความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ และความเหมาะสมด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

The purpose of the research was to 1) synthesize the management model of information technology for classroom-based instruction using project-based learning and 2) inquire the experts about the appropriateness of the model. Target groups include the research tools were questionnaire expert opinion on the appropriateness of the management model of information technology for classroom instruction. By Project-based learning. The statistics used are the mean and standard deviation.
The research findings were as follows: 1) The instructional management model of information technology for teaching and learning, the workshop 3, the system of teaching and learning in information technology using information technology Part 5: Indicators of Patterns
2) Experts When technical details are found to be different in each category. The importance of format and policy framework was at the highest level Understanding the Theorem in the 21st century, it was at the highest level (mean 5.00, standard deviation 0.00). The importance of information technology management for teaching and learning, Information Technology Management System Back to top Performance evaluation of integrated information systems, Knowledge of information technology, the learning management and video streaming systems were at the highest level. The level of teaching and learning management technology was high, and responsibility management.

Keywords : Management Information Technology, Flipped Classroom, Project Base Learning
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |