Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ไอพีวี6 สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of E-Learning on IPv6for Computer-Science Students at Kamphaengphet Rajabhat University
ผู้วิจัย : วันเฉลิม พูนใจสม, อรปรียา คำแพ่ง และฆัมภิชา ตันติสันติสม
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์และหาประสิทธิภาพของบทเรียน เรื่อง IPv6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง IPv6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อบทเรียนออนไลน์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.50/81.74 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ
3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์นี้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract : 

The purposes of this study were to 1) develop an E-Learning on IPv6 topic and find out its efficiency; 2) to compare the learning achievement of students between pre-tests and post-tests; and 3) to study the students’ satisfaction toward the E-Learning. The target group consisted of 18 senior computer science students, Faculty of Science and Technology at Kamphaengphet Rajabhat University. The instruments were 1) E-Learning on IPv6 2) achievement test and 3) satisfaction questionnaire for students with E-Learning. In addition, mean, standard deviation and t-test were employed to analyze the collected data.
The study found that 1) the E-Learning’s efficiency E1/E2 reached the criteria 80/80 at 82.50/81.74, 2) student’s post-learning achievement was significantly higher than the pre-learning one at 0.05, and 3) the students’ satisfaction toward the E-Learning was generally high.

Keywords : E-Learning, IPv6, Learning Achievement
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |