Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชัน เพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of the Application Model of Google Applications to Support Educational Guidance for Higher Education Institutions
ผู้วิจัย : กนิษฐา อินธิชิต*, วรปภา อารีราษฎร์ และจรัญ แสนราช
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุน
การแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ
ความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวทางการศึกษาประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 นโยบายและความสำคัญ ส่วนที่ 2 หลักการแนวคิด ส่วนที่ 3 ระบบสนับสนุนการแนะแนวทางการศึกษา ส่วนที่ 4 เทคโนโลยี และส่วนที่ 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2) ผลการศึกษา
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 2.1) ความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิลแอปพลิเคชัน
เพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2) ความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

This study aimed at 1) synthesizing the usage of Google application for educational purpose in higher education context 2) investigating the experts’ opinion on the appropriateness of the usage of Google application in higher education context. Nine experts were the subjects of the study. Questionnaire was used to elicit their opinion about the topic. Descriptive statistics including mean and S.D were used to analyze the data.
The results revealed that 1) the usage of Google application for educational purpose in higher education context consisted of five main parts rationale, concept, educational support system, technology and indicator to evaluate success. 2) The opinion forms the experts showed that 2.1) the appropriateness of the usage of Google application in higher education context was at high level 2.2) Appropriateness regarding the application of information technology was rated at the highest level.

Keywords : Model, Google Application, Educational Guidance, Information Technology
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |