Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในเทศบาลตำบลของไทย
ชื่องานวิจัย (EN) : Factors Affecting Information Technology Adoption in Thai Subdistrict Municipality
ผู้วิจัย : สมคิด สุทธิธารธวัช*, พรสิน สุภวาลย์, พรเลิศ อาภานุทัต, วรรณภา ฐิติธนานนท์ และขวัญมิ่ง คำประเสริฐ
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานเทศบาลตำบลของไทย และ 2) หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานเทศบาลตำบลของไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เทศบาลตำบลในประเทศตามข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,233 แห่ง โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 226 แห่ง จากการส่งแบบสอบถามจำนวน 800 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย งานวิจัยนี้วิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์แยกองค์ประกอบและทดสอบ
ความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ในเทศบาล คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน การศึกษาถึงปัจจัยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาใช้ในหน่วยงานเทศบาลตำบลของไทยภายใต้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ความเสี่ยงและความปลอดภัย ทฤษฎีสถาบัน ทฤษฎีการพึ่งพาทรัพยากร และทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 66.8 อายุผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุด คือ อายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 47.3 และสำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 69.9 หน่วยงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 28.8 ปัจจุบันทุกเทศบาลมีการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ในการดำเนินงาน และส่วนใหญ่หน่วยงานเป็นเจ้าของเว็บไซต์ คิดเป็นร้อยละ 81.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ภายในเทศบาลตำบล พบว่า ระบบที่มีค่าเฉลี่ยของการใช้มากที่สุด คือ งานทะเบียนราษฎร์ อยู่ในระดับมีใช้อยู่และใช้งานได้สมบูรณ์ ( =5.65, SD=1.79) รองลงมาคือ ระบบบัญชี การเงิน การคลัง อยู่ในระดับมีใช้อยู่และใช้งานได้สมบูรณ์ ( =5.25, SD=1.51) สำหรับระบบที่มีการใช้น้อยที่สุด คือ ระบบการจัดการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม อยู่ในระดับไม่มีการใช้แต่มีแผนที่จะใช้ภายในปีนี้ ( =3.17, SD=2.01)
2. ปัจจัยด้านลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศที่หน่วยงานนำมาใช้มี
ความเข้ากันได้กับโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลอยู่ในระดับเห็นด้วย ( =5.59, SD=0.82) ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบอยู่ในระดับคาดหวังมาก ( =5.54, SD=0.95) ความซับซ้อนของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย ( =4.45, SD=1.33) และค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับเฉย ๆ ( =4.14, SD=1.45) ปัจจัยด้านลักษณะขององค์กร พบว่า ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร อยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย ( =4.68, SD=1.09) และความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หน่วยงานใช้ อยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย ( =4.92, SD=1.09) ปัจจัยด้านแรงกดดันจากสถาบัน พบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลใกล้เคียง อยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย ( =4.59, SD=1.19) การรับรู้ถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในระดับสำคัญพอสมควร ( =5.47, SD=1.02) และการได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับได้รับน้อย (ปีละ 2 – 3 ครั้ง) ( =2.63, SD=1.42) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในเทศบาลตำบลของไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มี 4 ปัจจัย คือ 1) ความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) การรับรู้ถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเทศบาลใกล้เคียง และ 4) การได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract : 

The objectives of this research were to 1) study the information technology adoption in Thai subdistrict municipality and 2) explore the factors affecting information technology adoption in Thai subdistrict municipality. The population in this research were 2,200 subdistrict municipalities according to the local administrative organization. The questionnaires were sent to 800 subdistrict municipalities by simple random sampling and 226 questionnaires were returned. The exploratory factor analysis was used to evaluate the construct validity and the validity of the instrument was using Cronbach’s alpha coefficient. The descriptive statistics used in this research were percentage, mean, and standard deviation. Stepwise multiple regression analysis was used to find the factors affecting information technology adoption in Thai subdistrict municipality. The Perceived Risk and Security, the Technology Acceptance Model, the Institutional Theory, and the Resource Dependency Theory were used to hypothesize the conceptual framework.
The research results showed that
1. the majority of the respondents were male (66.8 percent), 47,3 percent were at age 50 and above, 69.9 percent graduated master degree, 28.8 percent were in the northeastern region, all subdistrict municipalities used internet and websites, and 81.4 percent owned their own websites. For the information technology management systems used in Thai subdistrict municipality, civil registration system was at the highest average adoption score with ( =5.65, and SD=1.79). Secondly, the finance, accounting, and fiscal system had the adoption score with
( =5.25, SD=1.51). The information technology management system used the least was the social, economic, and education system with ( =3.17, SD=2.01).
2. For the information technology characteristics, the compactivity factor was at agree level with ( =5.59, SD=0.82). The competitive advantage factor was at high expectation level with ( =5.54, SD=0.95). The complexity factor was at rather agree level with ( =4.45, SD=1.33). The cost factor was at neutral level with ( =4.14, SD=1.45). For the organization characteristics, the top management commitment factor was at rather agree level with ( =4.68, SD=1.09). The security factor was at the rather agree level with ( =4.92, SD=1.09). For the environmental pressure, the information technology adopted by nearby municipalities factor was at rather agree level with ( =4.59, SD=1.19). The perceived importance of stakeholders factor was at rather important level with ( =5.47, SD=1.02). The degree of interconnectedness factor was at low level (2-3 times a year) with ( =2.63, SD=1.42). The factors affecting the information technology adoption in Thai subdistrict municipality at the significance level .05 were 1) security 2) the perceived importance of stakeholders factor 3) the information technology adopted by nearby municipalities factor และ 4) the degree of interconnectedness factor.

Keywords : Information Technology, Subdistrict Municipality, Factors, Level of IT Adoption
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |