Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
ชื่องานวิจัย (EN) : Student Teams Achievement Divisions (STAD) Learning Management for Improvement of Learning Achievement of Career and Technology Subject for Mattayomseuksa 2 Level, Nonphosriwittayakom School
ผู้วิจัย : จงกล เขียนปัญญา
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม ก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

This research’s purposes were 1) to compare learning achievements of before and after using Student Teams Achievement Divisions (STAD) in Career and Technology classes and 2) to study students’ satisfaction towards the learning management of Career and Technology Subject in which Student Team Achievement Divisions (STAD) was used. The tools used in this research were 1) learning achievement evaluation tests for Career and Technology Subject and 2) satisfaction questionnaires on Student Teams Achievement Divisions (STAD) learning management for Career and Technology Subject. The statistics used to analyze the collected data were mean, standard deviation, and t-test dependent.
The research’s results were 1) study results of mattayomseuksa 2 students’ for Career and Technology Subject, Nonphosriwittayakom, after using Student Teams Achievement Divisions (STAD) learning management were higher than before using STAD learning management with a significant statistics level of 0.01 and 2) the students were satisfied with the learning management of Career and Technology Subject, in which Student Teams Achievement Divisions (STAD) was used, at the highest level as a whole.

Keywords : Career and Technology, Student Teams Achievement Divisions (STAD), Achievement, Mattayomseuksa 2, Nophosriwittayakom School
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |