Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียนในจังหวัดมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : Factors Affecting Efficiency of Microfinance Institutions in Maha Sarakham Province
ผู้วิจัย : สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียนในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 19 แห่ง โดยใช้ตัวแบบ Data Envelopment Analysis: DEA ในการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์เครดิตยูเนียนทั้งสามขนาดคือ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสหกรณ์เครดิตยูเนียน ขนาดใหญ่มาก มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.48 ส่วนขนาดใหญ่มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.39 และสหกรณ์เครดิตยูเนียนขนาดกลาง มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงร้อยละ 75 โดยมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย VRS อยู่ในระดับมาก คือ 0.7511
เมื่อพิจารณาผลตอบแทนต่อขนาดการดำเนินงานภายใต้ข้อสมมุติ VRS พบว่า ผลตอบแทนต่อขนาดของสหกรณ์เครดิตยูเนียนส่วนใหญ่เป็นผลตอบแทนต่อขนาดของการดำเนินงานที่ลดลง (Decreasing Return to Scale : DRS) รวมทุกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยมีจำนวนถึง 48 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75 แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการผลิต(Input) ของสหกรณ์เครดิตยูเนียน เมื่อนำเข้ามาในสัดส่วนหนึ่งแล้วก่อให้เกิดผลผลิต (Output) ออกมาในสัดส่วน
ที่น้อยกว่า หรืออาจกล่าวได้ว่าผลได้ต่อขนาดลดลงนั่นเอง ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับระดับความมีประสิทธิภาพคือ แบบจำลองโพรบิตแบบเรียงลำดับ (Ordered Probit Model) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน คือ ปัจจัยด้านการจัดสรรผลประโยชน์และสวัสดิการแก่สมาชิก

Abstract : 

The purpose of this research was to study the efficiency and factors affecting the efficiency of microfinance institutions(MFIs) in Mahasarahkam Province. There were 19 microfinance institutions in the sample. Data were analyzed by Data Envelopment Analysis: DEA, under Variable Return to Scale. The result showed that all types of MFIs had higher efficiency scores. Mega-sized MFIs had higher efficiency scores of 43.48%, large-sized MFIs had higher efficiency scores of 39.39%, and Medium-sized MFIs had higher efficiency scores of 75%, The average efficiency scores under Variable Return to Scale was 0.7511. The findings also showed that 48 MFIs had Decreasing Return to Scale : DRS. This implied that outputs increase by less than proportional change in inputs. Ordered Probit Model was used to analyze the factors affecting the efficiency of microfinance institutions, the result showed that welfare and benefit allocation factor had a significantly positive affects on the efficiency level.

Keywords : Operational Efficiency, Factors Affecing Efficiency, Microfinance Institutions
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |