Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): รูปแบบการนิเทศแบบพีไอพีอาร์อี ที่ส่งเสริมทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : The PIPRE Coaching Supervision Model that Enhancement Critical Teaching Skill According to the Principles of Sufficiency Economy Philosophy of Teachers in Maha Sarakham Provincial Administrative Organization
ผู้วิจัย : วดี แคนสุข
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนา
การสอนคิดวิเคราะห์ 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ และ
4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ การจัดทำร่างรูปแบบการนิเทศ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จากโรงเรียนสังกัด อบจ.มหาสารคาม ทั้งหมด 20 โรงเรียนๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 100 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 4 โรงเรียนๆ ละ 5 คน รวมทั้งหมด 20 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ใน
การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ
การนิเทศ เลือกทำการทดลองที่โรงเรียนนาข่าวิทยาคม ประชากร ได้แก่ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน
7 คน และครูผู้สอน จำนวน 35 คน นักเรียน จำนวน 751 คน รวมประชากรทั้งหมด 794 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง นักเรียน ระดับชั้นละ
1 ห้องเรียน จำนวน 232 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 247 คน เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ระยะที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ที่ทำการศึกษา ได้แก่ ฝ่ายบริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 8 คน รวมทั้งหมด จำนวน 20 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test
แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความจำเป็นของการพัฒนาการสอนคิดวิเคราะห์ของครูส่วนมาก
เกิดจากครูผู้สอนที่ไม่เข้าใจหลักสูตร เกิดจากพฤติกรรมของผู้เรียนที่ไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ขาดแรงจูงใจทางการเรียน
ขาดความเอาใจใส่ กำกับ นิเทศติดตามของผู้บริหาร และการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ของครู
2. รูปแบบการนิเทศแบบพีไอพีอาร์อี ประกอบด้วย กระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ได้แก่
1) การวางแผน 2) การให้ความรู้ 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย (1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน
(2) การสังเกตการสอน (3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน 4) การสะท้อนคิด และ 5) การประเมินผล โดยมี
การกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ
5 คน พบว่า มีคุณภาพ และมีองค์ประกอบครบถ้วน สมบูรณ์
3. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศแบบ พีไอพีอาร์อี โดยการนำไปใช้ในโรงเรียน พบว่า 1) ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8529 คิดเป็นร้อยละ 85.29 2) ครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.8507 คิดเป็นร้อยละ 85.07 สมรรถภาพในการสอนคิดวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละเฉลี่ย 85.49) และ
ความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก 3) นักเรียนทุกทุกห้องเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง มีผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการสอนคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนของครู ผู้รับการนิเทศก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ด้านผลกระทบของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และด้านความคุ้มค่าของการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60

Abstract : 

The aims of this study were 1) To study current condition, problems and the need for developing critical teaching skill 2) To develop a PIPRE Supervision Model and quality check 3) To do an experiment using the model and 4) To evaluate the implementation and improvement. The study was divided into four stage i.e. Stage 1 : Studied the current condition, problems and the need for development critical teaching skill. The target group were 5 experts that selected with purposive sampling. The semi-structured interviewing forms were used to gather data. Stage 2 : Developed and checked the quality of supervision model. Drafting the supervision model – The total population were 100 directors, vice directors and teachers from 20 schools, 5 for each school. The sample group were 20 directors, vice directors and teachers from 4 schools, 5 for each school that were chosen with purposive sampling. Theoretical investigation, possibility, the consistency of the supervision model by 5 experts. The instruments consisted of training guidelines for giving basic knowledge, recording forms for workshop and focus group discussion, the tools used to verify the quality of the model, and tools used to collect data. Stage
3: Experimented using supervision model, Nakhawittayakom School was selected for doing an experiment. The population consisted of 7 leader of learning group, 35 teachers, 751 students – the total population were 794. The sample group consisted of 7 supervising teachers and 8 receiver supervision teachers with purposive sampling and 232 students that were selected 1 class in each level by Cluster Random Sampling technique – the total sampling group were 247. The instruments consisted of the tools for collecting and supervising. Stage : 4 Evaluated and improved the model – the target group all of them were 20 – consisted of, 5 administrators, 7 supervising teachers and 8 receiver supervision teachers. The instruments comprised of questionnaire. Analyzed the data by using percentage, mean, standard deviation, Effectiveness Index (E.I), t-test dependent and content analysis.
The Results of the research were as follow:
1) The current condition, problems and the need for developing critical teaching skill : Mostly from the teachers don’t understand the curriculum, from the students’ behavior – don’t want to know, don’t want to learn and lack of motivation, lack of attentive and supervise from the director and ineffective management. From that problems had affected on the students’ quality, so it needed to develop critical teaching skill for teachers.
2) A PIPRE supervision model that enhancement critical teaching skill according to the principles of sufficiency economy philosophy consisted of five-step procedures including step 1: Planning, step 2: Informing, step 3: Proceeding included to perform the supervisory process beginning with pre conference, observation and post conference, step 4: reflecting and step 5: evaluating with continuous coaching and monitoring. The model quality check by the experts were found that it was a qualitative model and completely configuration.
3) The empirical data that supported the effectiveness of the PIPRE Supervision Model by experimenting in the school were as follows : (1) Regarding to the supervising teachers, they showed the highest level of competency in PIPRE Supervision, knowledge and understanding on critical teaching according to the principles of sufficiency economy philosophy an effectiveness index was increased 0.8529 – that means it was increased in 85.29 percent. (2) Regarding to the receiver supervision teachers their knowledge and understanding about critical teaching skill an effectiveness index was increased 0.8507 – that means it was increased in 85.07 percent. The satisfaction to the supervision model were rated highest 3) Regarding to the students, it was found that their learning outcomes before and after the implementation of the supervision model were statistically significant different at the .05 level. After the implementation of the supervision
4) The evaluation of supervision model, as a whole, the appropriateness was rated highest, means was 4.70. And when considering each side it was found that the achieving the specified goal, the appropriateness was rated highest, means was 4.80. The affectation field, the appropriateness was rated highest, means was 4.70, and the worthiness of performing was rated highest, means was 4.60.

Keywords : Coaching Supervision Model, Critical Teaching Skill, the Principles of Sufficiency Economy Philosophy
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |