Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560
ชื่องานวิจัย (TH): การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่บูรณาการสู่การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา
ชื่องานวิจัย (EN) : A Learning Activity Model for Learning Activity Management for Integration into Graduate Studies
ผู้วิจัย : เทอดชัย บัวผาย, วิญญู อุตระ, ฐิติมา ผ่องแผ้ว และ วรปภา อารีราษฎร์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษารายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับผู้เรียนรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี และ 3) ศึกษาการยอมรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต รุ่นที่ 1 จำนวน 17 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี ในภาคเรียนที่ 3/2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการสอน แบบ มคอ.3 แบบวัดผลการเรียนรู้ และ แบบสอบถามการยอมรับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ TAM สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี ได้สอดแทรกการเรียนการสอนและกิจกรรมแบบสะเต็มศึกษา 4 ครั้ง จำนวน 16 ชั่วโมง โดยสอดแทรกการบรรยายหลักการและแนวคิดของสะเต็มศึกษา 1 และปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในเรื่องการพับจรวด โดยจัดทำเป็นหลักสูตรอบรม ผลการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การพับจรวด ที่มีองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ หลักการเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา กิจกรรมในการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 2) ผู้วิจัยได้การบูรณากาผลการวิจัยสู่การเรียนการสอน ในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 โดยการปรับปรุงรายละเอียดแผนการสอนหรือ มคอ.3 รายวิชา 7090103 สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 กำหนดประเด็นหัวข้อการเผยแพร่กระบวนการการเรียนรู้แบบ STEM Education ไว้ในสัปดาห์ที่ 9-10 และ 3) จากผลการรับฟังการบรรยายผลการวิจัย เรื่อง รูปแบบ STEM Education ส่งผลให้นักศึกษา จำนวน 2 คน ได้วิจัยเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบ STEM Education จำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวกาญจนา ดงสงคราม ชื่อเรื่อง รูปแบบการใช้เทคโนโลยี RMU MOOC โดยประยุกต์ใช้ STEM Education และ นายเกียรติศักดิ์ โคกลือชา ชื่อเรื่อง รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ โดยประยุกต์ใช้ STEM Education สำหรับการเรียนการสอนรายวิชา ไฟฟ้า

Abstract : 

The objectives of the research were study strategies for integrating learning activities of STEM education for “Seminar on Technology Management”, 2) to assess the results of learning activities of STEM education, and 3) to find the acceptance of teachers and educational personnel of learning activity model of STEM education. The target population was seventeen doctoral students of the Technology Management Program who studied Seminar on Technology Management” in the 3rd semester of 2015. The instrument was a supplementary book, a course syllabus and outline, a learning assessment form, and a questionnaire. The statistics used were the percentage, mean, standard deviation.
The study showed that STEM education was added in learning activities of “Seminar on Technology Management” four times for sixteen hours. The added contents consisted of principles and concepts of STEM education on the topic of “Making Paper Rocket” by organizing a training course. The curriculum of STEM learning activities consisted of rationale, learning objective, outline of contents, time period, learning activities, assessment and evaluation. 2) The author integrated research results into learning activities of “Seminar on Technology Management 1” by developing the course syllabus of 7090103. The learning activities of STEM education was taught in the 9 and 10th week. Consequently, there were two doctoral students of the Technology Management Program conducting research on a model of STEM education. Miss Kanjana Dongsongkhram conducted research on “A Model of RMU MOOC Application of STEM Education, and Mr.Kiatisak Khokluecha conducted a research on “A Model of Information Technology Application of STEM Education for Instructional management of Electricity Course”.

Keywords : STEM Education, Diffusion, Activity Learning Model, Integrated
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |