Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560
ชื่องานวิจัย (TH): การเปรียบเทียบรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชื่องานวิจัย (EN) : A Comparative Model of Cultural Tourism in the North and the Northeast of Thailand
ผู้วิจัย : วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ปรัชญา นวนแก้ว, สิทธิชัย บุษหมั่น และภาสกร ธนศิระธรรม
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ (Identifying Key Factors) การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะ (Attributes) การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และ 3) สร้างและใช้รูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของกฎความสัมพันธ์ (Association Rules) และต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ (Decision Tree) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทคนิคและกระบวนการที่ใช้ในงานวิจัย คือ การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ร่วมกับกระบวนการพัฒนาโมเดลเพื่อการเรียนรู้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Gathering) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการแสดงผลข้อมูล (Data Visualization) ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ คือ การเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เคยมีประสบการณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จำนวน 1,317 คน จาก 4 แห่ง 2 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ 1) วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย 2) วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา 3) วัดหนองแวง จังหวัดขอนแก่น และ 4) วัดพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์โมเดล คือ กระบวนการวัดประสิทธิภาพโมเดล (Model Measurements) ได้แก่ ความถูกต้อง (Accuracy) ความแม่นยำ (Precision) และความสามารถในการทำนาย (Recall)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยของคุณลักษณะและทัศนคตินักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ จำนวน 4 ปัจจัย โดยพิจารณาจากระดับความคิดเห็นต่อปัจจัย ความพึงพอใจในประสบการณ์การท่องเที่ยว และผลลัพธ์ของโมเดลต้นไม้การตัดสินใจ (Decision Tree Results) นอกจากนั้นยังพบว่า 2) การวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะสามารถใช้รูปแบบพยากรณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 14 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว (7 ปัจจัย) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล (4 ปัจจัย) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว (3 ปัจจัย) และ 3) โมเดลการพยากรณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสัมพันธ์กันและสามารถพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในอนาคตได้

Abstract : 

The purposes of the research were 1) to identify key factors of cultural tourism in the north and the northeast of Thailand, 2) to analyze and compare the attributes of cultural tourism in the north and the northeast of Thailand, and 3) to design and implement a model of cultural tourism by association rule and decision tree methods. Basic statistics were employed for analyzing the model of cultural tourism through machine learning. The research methodology was divided into three parts: data collection, data analysis and data visualization. The data was collected from 1,317 tourists who visited two cultural tourist attractions in the north and two cultural tourist attractions in the northeast of Thailand: Rongkhun Temple in Chiangrai province, Sri Khomkham temple in Phayao province, Nong Waeng Temple in Khon Kaen province and Prathat Nadun Temple in Maha Sarakham province. Model measurements consisting of accuracy, precision and recall were used for the study. The study indicated that four key factors of attributes and attitudes of the tourists regarding the experiences, satisfaction of the tourists and decision tree results were significantly related to the model of cultural tourism in the north and the northeast of Thailand. Additionally, fourteen key factors for recall of the cultural tourism consisted of seven factors of tourist attractions, four factors of government policies, and three factors of tourists. The prediction models of cultural tourism in the north and the northeast of Thailand reveal that the application of the models can be developed to promote tourism in the future.

Keywords : Smart Tourism, Cultural Tourism Styles, Attitude Optimization
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |