Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): นวัตกรรมกระบวนการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าโรงงานสู่การเป็นช่างฝีมือตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน จังหวัดมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : The Process Innovation for Skills Developing of Sewing Labors to Professional Local Community Sewing in Maha Sarakam Province
ผู้วิจัย : วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน และ 2) สังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นเจ้าของกิจการ หรือสถานประกอบการ และแม่บ้านรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า ตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และนักวิชาการศึกษา จำนวน 5 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน และการสังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ และสถิติที่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาบริบทของกลุ่มแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองสถานประกอบการในชุมชน พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยการสัมภาษณ์ พบว่า 1.1) บริบทของชุมชนท่าตูม เป็นชุมชนหนึ่งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน มีประชากร 1,149 หลังคาเรือน และมีประชากร 4,903 คน ทำเลและที่ตั้งของพื้นที่ในชุมชน อยู่บนพื้นที่บริเวณด้านหน้าเขื่อนขนาดเล็ก หรือฝายกั้นน้ำวังยาง อาชีพของชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาในพื้นที่ของตนเองที่นำมาหล่อเลี้ยงชีวิตของครอบครัว 1.2) สภาพการตัดเย็บเสื้อผ้าของกลุ่มชาวบ้าน กลุ่มผู้หญิงหรือสตรีช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มแม่บ้านในชุมชนจะรับผ้าจากโรงงานหรือ “ผ้าโหล” เป็นผ้าที่โรงงานตัดส่งให้กับร้านค้าที่สั่งทำตามใบสั่ง (Order) โดยการรับส่งเสื้อผ้าโรงงานเป็นบางกลุ่มหรือบางคน ซึ่งเป็นรายได้ที่เป็นอาชีพเสริมจากการทำนาของชุมชนท่าตูม 1.3) การประกอบอาชีพเสริมของชุมชนท่าตูม ในชุมชนยังมีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง ในแต่ละหมู่บ้านประจำในแต่ละหมู่บ้าน ประมาณ 1-3 ร้าน ที่เป็นร้านตัดเสื้อผ้าพื้นเมืองให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทั่วไป 1.4) ความสำคัญของเสื้อผ้าพื้นเมือง เป็นเสื้อผ้าที่นิยมของชุมชนพื้นที่จังหวัดในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และ 1.5) ความต้องการของกลุ่มผู้หญิงหรือสตรีในชุมชนเพื่อการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับรายได้จากการประกอบอาชีพหรืองานที่ทำอยู่แล้วให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอาชีพ ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพมาตรฐาน และ 2) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการชุมชนตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า รูปแบบเป็นองค์ประกอบ ที่แสดงความสัมพันธ์ของหลักการแนวคิด การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงาน ตามบริบทของชุมชนและสถานประกอบการแบบมีส่วนร่วม 3 หน่วยงาน คือ หน่วยงานภาครัฐ ชุมชนกลุ่มแม่บ้าน และสถานประกอบการ ทั้ง 3 หน่วยงาน ร่วมกำหนดเป้าหมายการพัฒนา ร่วมพัฒนาและตรวจสอบผลงาน และร่วมแบ่งปันกระจายการทำงาน ที่มีองค์ประกอบของหลักการแนวคิดการพัฒนาสมรรถนะฝีมือแรงงานแบบมีส่วนร่วม และการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองกลุ่มแรงงานสถานประกอบการในชุมชน และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

The objectives of this research were 1) to study the context of the local garment sewing group, community enterprises and 2) to synthesize the training model to develop local sewing skills, labor groups, community enterprises, Tha Tum Subdistrict, Muang District Mahasarakham province The samples used in the research were The owner of the business Or establishment And housekeepers for sewing clothes in Tha Tum Subdistrict, Mueang District, Maha Sarakham Province And 5 academic students. The research process is divided into 2 phases: the study of the context of the local garment sewing group, the workplace in the community And the synthesis of training models for developing local sewing skills, labor groups, community enterprises, Tha Tum Subdistrict, Mueang District, Maha Sarakham Province The tools used in the research are the appropriate form of questionnaire. And statistics used as the mean and standard deviation
Research results 1. The results of the study of the context of local garment sewing workers in the community Mueang District Mahasarakham province The interview revealed that 1) the context of Tha Tum community Is a community in the area of Maha Sarakham Province With a total area of 10 villages with a population of 1,149 households and a population of 4,903 people. Location and location of community areas On the area in front of a small dam Or Wang Yang Dam Most community careers are farmers. Farming in their own area that nourishes the life of the family. 2) The sewing conditions of the villagers. A group of women or women over the age of 30 years or a group of housewives in the community will receive a cloth from the factory or a “dozen fabric” is the fabric that the factory cut to deliver to the shop that made the order (Order). Some groups or some people Which is a supplementary income from the farming of the Tha Tum community 3) the supplementary occupation of the Tha Tum community In the community, there are also local garment shops. In each village in each village, about 1-3 shops that are local clothing stores for customers in general groups 4) the importance of native clothing Is a clothing that is popular with the community in the provinces in the region Especially the northeastern provinces Government and private agencies Including community leaders and villagers, and 5) the needs of women or women in the community for self-improvement in order to raise income from occupations or work already done To have more income Leading to professional development And the results of the synthesis of training styles to develop local sewing skills, labor groups, community establishments in Tha Tum Subdistrict, Muang District, Mahasarakham Province, found that the pattern is an element that shows the relationship of conceptual principles Training to develop local sewing skills, community-based labor groups, and 3 participating organizations, namely government agencies Communities, housewives groups and establishments, all 3 agencies jointly set development goals. Joint development and examination of work and share the work distribution with elements of the principles of the development of skilled labor And training to develop local sewing skills, labor groups, establishments in the community And opinions of the experts on the suitability of the format Overall at the highest level.

Keywords : นวัตกรรม, แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าโรงงาน, สถานประกอบการในชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |