Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์
ชื่องานวิจัย (EN) : The Components Synthesis of Developing Undergraduate Students to Prepare for the Tech Startup by EDFR Technique
ผู้วิจัย : หทัยรัตน์ หอมไกรลาศ*, วรปภา อารีราษฎร์, มนต์ชัย เทียนทอง
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียม ความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคอีดีเอฟอาร์ รอบที่ 1 2) แบบสอบถามแนวโน้มองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัฟ รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้มองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทร์ที่ 3 และ 1
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความสำคัญของนโยบายการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาด้านเท็คสตาร์ทอัพ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ และ 3) คุณลักษณะของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ โดยผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติ ที่ค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 2-5 และมีค่าพิสัยควอร์ไทล์ อยู่ระหว่าง 0-1 2) องค์ประกอบของการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) นโยบายการจัดการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และด้านการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) องค์ประกอบของการพัฒนาคู่มือการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 2.1) ด้านหลักการทฤษฎี 2.2) ด้านการพัฒนาคู่มือการพัฒนานักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ 2.3) ด้านขั้นตอนการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อม ด้านเท็คสตาร์ทอัพ ด้านสิ่งสนับสนุน การอบรม และด้านกิจกรรมการอบรม และ 3) คุณลักษณะของคู่มือการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และ ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน 3) ขั้นตอนการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเท็คสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างแรงบันดาลใจ ขั้นที่ 2 ศึกษาปัญหาและสร้างแนวคิด ขั้นที่ 3 สร้างทีมงาน ขั้นที่ 4 สร้างแนวคิดธุรกิจใหม่ และ ขั้นที่ 5 นำเสนอธุรกิจใหม่

Abstract : 

The objective of the research was to synthesize the components of undergraduate student development in preparation for Tech Startup by EDFR technique. The target population was twenty specialists selected by purposive sampling. The research instrument was an interview form for the first implementation of EDFR technique, a questionnaire on the trends of the components of undergraduate student development in preparation for Tech Startup of the second round, and a questionnaire on the trends of the components of undergraduate student development in preparation for Tech Startup of the third round. The statistics used were mode and range of quartile 3 and 1.
The research study showed that 1) the components of undergraduate student development in preparation for Tech Startup consisted of three major parts: 1. the importance of the policies on educational management relating to undergraduate student development in preparation for Tech Startup, 2. related factors in preparation for Tech Startup, and 3. activities for preparing Tech Startup. 2) The three major components of undergraduate student development in preparation for Tech Startup were 1) policies of educational management on three areas: the 20 Year National Strategies (2017-2036), 2) the 12th National Social and Economic Development Plan (2017-2021) and 3) skill development of undergraduate students in the 21th century. 2) The components of a handbook on undergraduate student development in preparation for Tech Startup consisted of five major parts: principles, theories, development of a handbook on student development in preparation for Tech Startup, Tech Startup, training facilitators, and training activities. And 3) the qualities of the handbook in preparation for Tech Startup consisted of two major aspects: activities for student development and qualities of trainees. 3) Five steps in preparing student development for Startup were 1 building passion, 2 study of pain point and idea innovation, 3 team setup, 4 business model canvas and 5 pitching and fundraising new business.

Keywords : เทคนิคอีดีเอฟอาร์, เท็คสตาร์ทอัฟ, เตรียมความพร้อม, นักศึกษา
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |