Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ: แนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
ชื่องานวิจัย (EN) : Smart University: Guidelines to Implementation Smart University
ผู้วิจัย : เสถียร จันทร์ปลา, ปรัชญนันท์ นิลสุข
บทคัดย่อ (TH) : 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) หรือวิทยาเขตอัจฉริยะ (Smart Campus) แนวคิดมหาวิทยาลัยอัจฉริยะเกิดมาจากกระบวนทัศน์ของเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ การทำให้เมืองเป็นสถานที่อยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้นในระยะยาว เป็นสถานที่ซึ่งพลเมืองเป็นศูนย์กลาง จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย พบว่า มหาวิทยาลัยอัจฉริยะมีการดำเนินการหลาย ๆ ด้านโดยมีการดำเนินการหลักอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคนและการใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart People & Living) ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ด้านการสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) ในส่วนของการดำเนินงานมหาวิทยาลัยอัจฉริยะจะช่วยให้การใช้ชีวิตของคนในมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อาจารย์และนักศึกษา รวมไปถึงคนที่พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้สะดวกสบายมากขึ้น ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายขององค์กร การเฝ้าสังเกตสภาพแวดล้อมเพื่อให้ทราบอุณหภูมิ ความชื้น แสง เสียงรบกวน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นต้น การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย การระบุตำแหน่งปัจจุบัน การค้นหาสถานที่ปลายทาง การนำทางสำหรับคนทั่วไปและคนพิการ การขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ให้ความช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น ตัวเซ็นเซอร์ (Sensors) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง แสง เสียงรบกวน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ เซ็นเซอร์การใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวควบคุมการเปิดปิดไฟฟ้า บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ได้แก่ Raspberry Pi, Arduino, NodeMCU, Microbit อุปกรณ์สนับสนุนอื่น ๆ เช่น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) การระบุสิ่งต่าง ๆ ด้วยคลื่นวิทยุ (RFID Tags) และการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) โดยต้องนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้างเป็นระบบเพื่อใช้งานสำหรับมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านต่าง ๆ และเพื่อให้ใช้งานได้อย่างครอบคลุมจะต้องพัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานกับผู้ใช้ทุกกลุ่มและรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop) คอมพิวเตอร์พกพา (Laptop) โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ทั้งแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (IOS) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

Abstract : 

The objective of this paper is to present the practical guidelines of Smart universities or smart campuses. The concept of Smart University has been launched under the new paradigm of the Smart City which aims to make a better living and centric place for citizen with long-life. The literature review of documents and related research found that Smart University has many facets of operations and there are five main activities as follows: Smart People & Living, Smart Economy, Smart Energy, Smart Environment and Smart Mobility. The operations of Smart university will enhance the lives of people in the university including faculty, staff, student and disabled people to have a better quality of life and more comfortable place for all. Furthermore, smart university associates with the decrement of electricity consumption, the sustainable cost reduction of the organization, and the observation of the environment to know the temperature, moisture, light, noise, carbon monoxide (CO) and nitrogen dioxide (NO2) etc. The rise of advance technologies empowers to develop and support the concept of Smart university to become reality and IoT (Internet of Things) and smart phones have become the important rules into the daily life of the campus, like to travel around the university, to indicate the current location, to find the target destination, to navigate for people and people with disability, and to ask for the Emergency Response Center. Sensors and sensor systems embeds to support university management such as temperature sensor, moisture, light, noise, carbon monoxide (CO) and nitrogen dioxide (NO2), power consumption sensor, and electric shutdown sensor. In addition to the equipment listed above, small computer boards, such as Raspberry Pi, Arduino, NodeMCU, and Microbit, and supporting devices, like GPS, RFID Tags, and Wi-Fi, are in harmony with operation well together and web or mobile application must be developed to be compatible with all users to collaborate with a smart campus operation and data strategy. Moreover, it also supports all types of devices such as desktop, laptop, mobile phone, Android and IOS.

Keywords : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ, วิทยาเขตอัจฉริยะ, เมืองอัจฉริยะ, อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |