Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR
ชื่องานวิจัย (EN) : The Components Synthesis of Handbook of Good Practice Evaluation for Online Professional Learning Community of Teachers by EDFR Technique
ผู้วิจัย : สมัย สลักศิลป์*, วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 1 2) แบบสอบถามแนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้ม การแนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มการพัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ มีผลแยกตามแต่ละด้านดังนี้ 1) ด้านลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าคัดเลือกของครูผู้สอน 2) องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการส่งผลงานเข้าคัดเลือก 3) การพิจารณาผลงานและการตัดสินการคัดเลือกผลงาน 4) การพิจารณาวิธีการประเมิน และคะแนนการคัดเลือกผลงาน และ 5) การกำหนดคะแนนการประเมินผลงาน ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เลือก จำนวน 144 ข้อ จากคุณลักษณะทั้ง 5 ด้าน มาออกแบบงาน จำนวน 3 งาน ได้แก่ 1) องค์ประกอบของคู่มือการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 กลุ่ม คือ ครูผู้ส่งผลงาน ผู้ดูแลระบบ และกรรมการประเมินผลงาน 2) โมดูลระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ ประกอบด้วย 7 โมดูล ได้แก่ 2.1 ผู้ดูแลระบบ/คณะทำงาน/เจ้าหน้าที่ 2.2 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ 2.3 โมดูลการสื่อสาร/เชื่อมโยง 2.4 สมาชิก/ผู้ส่งผลงาน 2.5 ผลงานของครู 2.6 กรรมการประเมินผลงาน และ 2.7 เกณฑ์การประเมินหรือคัดเลือกผลงาน และ 3) จอภาพของระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดี ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนหัวเป็นองค์ประกอบ ที่แสดงข้อมูล/ภาพ/โลโก้ หน่วยงาน/ชุมชน และ รายการเมนูของระบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเมนู เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการส่งผลงานเพื่อการคัดเลือกของครู เอกสาร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 ส่วนแสดงรายละเอียด (Content) ของระบบตามเมนูที่เหลือก ส่วนที่ 4 ส่วนการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ และ รายการลิงค์เชื่อมโยง องค์กร หน่วยงาน และ ส่วนที่ 5 ส่วนท้าย แสดงข้อมูลการพัฒนาระบบ/ติดต่อระบบ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการออกแบบองค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการประเมินการปฏิบัติที่ดีสำหรับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูออนไลน์ พบว่า โดยรวมการออกแบบระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ 3 ด้านคือ 1) องค์ประกอบของระบบบริหารจัดการ 7 โมดูล 2) ความเหมาะสมของการออกแบบองค์ประกอบ 5 ส่วน 3) ความเหมาะสมของคู่มือการส่งผลงานของครูผู้สอน

Abstract : 

The objective of the research was to synthesize the components of a handbook on evaluating the best practice of an online learning community for teaching profession by EDFR technique. The target population was twenty one specialists selected by purposive sampling. The instrument was 1) an interview form of the first time by using EDFR technique, a questionnaire on the handbook 2) a questionnaire on the handbook in the second time of EDFR technique and 3) a questionnaire on the handbook in the third time of EDFR technique. The statistics used were mean and standard deviation.
The research study focused on 1) types of teachers’ work, 2) components of an information system, 3) work assessment, 4) assessment method, and 5) scoring for work assessment. The researcher used one hundred and forty four items of five areas for designing three tasks. 1) The components of a handbook on evaluating the best practice of an online learning community for teaching profession consisted of three target groups: teachers, system administrators and work assessors. 2) A system management module for evaluating the best practice of an online learning community for teaching profession consisted of seven modules: 1) system administrators/ officers, 2) online learning community for teaching profession, 3) communication module/connection, 4) members/work’s owners, 5) works, 6) assessors and criteria for work assessment. And 3) the monitor screen of the best management system consisted of five parts: 3.1) showing data/pictures/logo of an organization/community and menus, 3.2) menu for sending works, documents and related activities, 3.3) details of contents, 3.4) a registration system and connection with other organization, 3.5) showing data of system development/ system connection. The average opinion of the specialists towards the appropriateness of the system design of the management system for evaluating the best practice of the online learning community for teaching profession was at the highest level. The three most appropriate modules were seven modules of the management system components, 2) five parts of component design, and handbook for teachers or work senders.

Keywords : เทคนิค EDFR , การปฏิบัติที่ดี, ชุมชนการเรียนรู้
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |