Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of Learning Model by Ubiquitous Environment
ผู้วิจัย : จิรพล ลิวา*, วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล, สมพร เรืองอ่อน
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในภาพแวดล้อมยูบิควิตัส 2) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 5 คน และผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 150 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ผู้สอนที่มีผลงานแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) แบบประเมินองค์ประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียนและผู้สอน แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนและแบบฝึกหัด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัสประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้บนเครือข่าย (LMS : Learning Management System) ระบบ การติดต่อสื่อสาร (Communication) ระบบเนื้อหาบทเรียน (Content) และระบบการวัดและประเมินผล (Evaluation) 2) การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้บนเครือข่าย ผ่าน Google Site เป็นเครื่องมือเผยแพร่บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ Google Form เป็นเครื่องมือลงทะเบียนสำหรับผู้เรียน และ Google Sheet เป็นเครื่องมือบันทึกฐานข้อมูลของผู้เรียน ระบบการติดต่อสื่อสาร โดยใช้ Google Mail ส่งงานของผู้เรียนและติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียน รวมทั้งใช้ในการเข้าถึงเครื่องมืออื่นๆ ของ Google ทั้งหมดอีกด้วย และ Web Board ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันแบบ Non-Real Time ระบบเนื้อหาบทเรียน โดยใช้ Google Doc นำเสนอเนื้อหาบทเรียนแบบยาว Google Slide นำเสนอเนื้อหาบทเรียนแบบย่อ และ YouTube นำเสนอสื่อประสมให้กับผู้เรียน และระบบการวัดและประเมินผล โดยใช้ Google Form ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน รวมทั้งแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน และ Google Sheet เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแต่ละองค์ประกอบทำงานสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ จากการประเมินค่าความสอดคล้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 0.91 นำรูปแบบมาพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และประเมินค่าความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 0.90 นำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีค่าการพัฒนาของคะแนนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.93 คะแนน และเมื่อประเมินค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 พบว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.08/85.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน (t-test) พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างในรายวิชาอื่น ๆ ได้ และ 3) ประสิทธิผลของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้จริงใน 5 รายวิชา ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าการพัฒนาของคะแนนที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่นำไปใช้

Abstract : 

The purposes of this research were 1) to study the components of interactive electronic lessons in the ubiquitous environment 2) to develop electronic lessons according to the criteria 80/80 and 3) to study the effectiveness of electronic lessons. The sample groups in this research were 5 secondary school teachers and 150 secondary school students utilizing electronic lessons. Successful application to the course was through a specific selection method. The tools used in the research are document synthesis, interview forms for instructors with best practices and electronic lesson evaluation forms and satisfaction assessment forms for students and teachers, pre-study and post-test exams and exercises. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The results of the research were as follows: 1) Elements of interactive electronic lessons in the ubiquitous environment consisted of Network Learning Management System (LMS) Communication System (Communication) Content system (Content) and evaluation and evaluation system (Evaluation) 2) Electronic lesson development consists of a network learning management system using Google Site as a tool for publishing electronic lessons and registration for students and Google Sheet is as a database tool for learners. Communication systems use Google Mail for sending students work and communicating between teachers and students, or between students and students. All other Google tools can be accessed as well. A web board is used to communicate between each other in a non-real time, a lesson content system uses Google Doc to present detailed lesson content. Google Slide is used to present lesson content and YouTube to present multimedia for students, whilst the measurement and evaluation system (pre-test, post-test, as well as the satisfaction assessment form for students) uses Google Form and Google Sheet. Data collected by each component is related as a system. An evaluation of the consistency of the model by experts is equal to 0.91 and evaluation of the consistency by experts is equal to 0.90. In the experiment with the students, in the sample group it was found that the development value of the score increased by an average of 7.93 points and when evaluating the efficiency according to the criteria set 80/80 it was found that the electronic lessons had the efficiency value of 83.08/85.56 according to the criteria And when comparing between pre-test and post-test scores (t-test), it was found that the post-test scores of the students were significantly higher than before learning at the level of .05. It is therefore appropriate and can be used with other sample groups in other courses and 3) the effectiveness of electronic lessons. In the actual sample group, in 5 subjects in 3 learning strands, it was found that the average score after studying was higher than before learning with the increase of scores in all learning strands where interactive electronic lessons in the ubiquitous environment are used.

Keywords : บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, ยูบิควิตัส, ยูเลิร์นนิ่ง
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |