Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
ชื่องานวิจัย (EN) : Promoting Mahasarakham Tourism by using Augmented Reality
ผู้วิจัย : พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงท่องเที่ยงจังหวัดมหาสารคาม และ
2) ศึกษาการยอมรับและความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันเสมือนจริงจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประชากรในการศึกษาครั้ง คือ นักท่องเที่ยวที่ใช้แอปพลิเคชันเสมือนจริงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่ใช้แอปพลิเคชันเสมือนจริงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 100 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชัน AR มหาสารคาม 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชัน AR มหาสารคาม 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแอปพลิเคชัน AR มหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน AR มหาสารคาม ได้ผลลัพธ์ 3 ส่วน ดังนี้ 1.1) Marker ในรูปแบบโปสการ์ดที่ระลึกประชาสัมพันธ์ข้อมูลท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม 5 แห่ง ประกอบด้วย พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา พระยืนกันทรวิชัย (พระพุทธมงคล) และสะพานไม้แกดำ 1.2) Model ในรูปแบบแอนิเมชัน 3 มิติ ที่มีการเคลื่อนไหว ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม 5 แห่ง ประกอบด้วย พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา พระยืนกันทรวิชัย (พระพุทธมงคล) และสะพานไม้แกดำ 1.3) แอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ จำนวน 1 แอปพลิเคชัน ภายใต้ชื่อ AR มหาสารคาม ที่สามารถถ่ายภาพและแชร์ภาพถ่ายไปยังสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้ ผลการประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชัน AR มหาสารคาม 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการทำงานได้ตาม ด้านประสิทธิภาพการทำงาน และด้านการใช้งาน พบว่า ผลการประเมิน ความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการยอมรับและพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันเสมือนจริงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract : 

This research aimed to: 1) develop the augmented reality (AR) application for promoting cultural attractions in Mahasarakham province; and 2) evaluate the user’s satisfaction and acceptance on the application. The research methodology was divided into 2 phases in which the population was the tourists who used the application and the sample group comprised 100 tourists as the application user chosen by accidental sampling. The research tools were: 1) the AR Mahasarakham application; 2) the evaluation form on the suitability of the AR Mahasarakham application; and 3) the user’s satisfaction evaluation form on the AR Application. The statistics used in the research were mean and standard deviation.
The research outcome was indicated as follows: 1. After the AR application had been developed, the outcome was classified into 3 types of products as below. 1) Marker as the postcards for 5 cultural attractions in Mahasarakham province including Phra That Na Doon, Khu Santarat, Khu Ban Khwao, and Kantarawichai Standing Buddha image (Phra Buddha Mongkol).
2) The 3D animated model for those 5 cultural attractions in Mahasarakham province. 3) An android-based application for those 5 attractions called AR Mahasarakham that allows the user to take photos and share them on any online communities. According to an evaluation on the application suitability concerning 3 issues including Applicability, Efficiency, and Usability, the total score of the application was notably high. 2) The tourist’s satisfaction and acceptance for the AR application was totally rated with high scores.

Keywords : ทคโนโลยีเสมือนจริง, มหาสารคาม, ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |