Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการออกแบบการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับ สื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู
ชื่องานวิจัย (EN) : The Guideline of Instructional Design Based on the Principles of Creative Problem Solving with Social Media to Promote the Creation of Educational Innovation for Pre-service Teachers
ผู้วิจัย : ฐาปนี สีเฉลียว
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนของการเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาสำหรับนิสิตวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครูเกี่ยวกับ การออกแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน และนิสิตวิชาชีพครู จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องฯ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนฯ จำนวน 2 ชุด สำหรับอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สังเคราะห์ข้อมูลตามตัวแปรที่ศึกษาและนำมาเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนของการเรียนการสอนฯ พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญมีทั้งหมด 15 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ (3) เนื้อหารายวิชาและเนื้อหาที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา (4) กลยุทธ์การเรียนการสอน (5) เทคนิคการเรียนการสอน (6) กระบวนการ กิจกรรมการเรียนการสอน (7) บทบาทของอาจารย์ผู้สอน
(8) บทบาทของผู้เรียน (9) สื่อการเรียนการสอน (10) สื่อสังคม (11) เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
(12) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ (13) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (14) การวัดและการประเมินผล (15) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา และขั้นตอนที่สำคัญมีทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม
(2) ขั้นสอน (3) ขั้นสรุป (4) ขั้นประเมินผล และใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 16 สัปดาห์ และ 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนและนิสิตวิชาชีพครู พบว่า การออกแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ควรคำนึงถึงลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา เนื้อหาวิชาที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนของการเรียนการสอนและการประยุกต์ใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา รูปแบบ การเรียนการสอนตามหลักการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เทคนิคการสอนที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา บทบาทของอาจารย์ผู้สอนและบทบาทของนิสิตที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างสรรค์วัตกรรมการศึกษา สื่อการเรียนการสอนหรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาการประเมินการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา การเผยแพร่นวัตกรรมการศึกษา

Abstract : 

The purposes of this research were 1) to review and synthesize documents and related literatures pertaining to components and steps of instructions based on the principles of creative problem solving with social media to promote the creation of educational innovations for pre-service teachers and 2) to study the opinions of lecturers and pre-service teachers concerning the guideline of instructional design. The sample for this study consisted of 5 lecturers and 12 undergraduate students. The research instruments used in this study were 1) the forms for synthesized documents and related research studies and 2) two sets of interview questions designed for the lecturers and undergraduate students. The collected data was analyzed and categorized into key issues and themes based on the literatures. The results were presented in the form of descriptive analysis.
The research findings included 2 major results: Firstly, there were 15 crucial components and steps of the instructional model—(1) principles, (2) learning objectives, (3) subject contents that support the creation of innovations, (4) instructional strategies, (5) instructional techniques, (6) learning processes and activities, (7) the roles of lecturers, (8) the roles of learners, (9) instructional media, (10) social media, (11) technologies for learning, (12) learning resources and information, (13) learning environment, (14) measurement and evaluation, and (15) factors that affect the creation of innovations. Furthermore, there were 4 crucial steps—(1) preparation, (2) teaching, (3) conclusion, and (4) evaluation. The teaching duration was 16 weeks in total. Secondly, the study the opinions of lecturers and pre-service teachers found that designing instruction to support the creation of innovations should include the awareness of the characteristics of educational innovations, learning objectives to create educational innovations, contents that support the creation of innovations, components of instructional models that supports the creation of innovations, steps of instructions and the applications of social media and the instruction of the higher education level, instructional models based on creative problem solving, instructional techniques that support the creation of innovations, the roles of lecturers and students that support the creation of innovations, the teaching duration that supports the creation of innovations, instructional media or learning resources that support the creation of innovations, learning environment that supports the creation of innovations, the evaluation of the creation of innovations, and the dissemination of innovations.

Keywords : Instructional Design, Creative Problem Solving, Social Media, Educational Innovation, Pre-service teachers.
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |