Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับ การวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
ชื่องานวิจัย (EN) : A Proposed Social Media Training Model using the Inquiry Process with Close Analysis to Develop of Media Literacy Abilities for Teachers Under Nakhonratchasima Vocational Education
ผู้วิจัย : พรปวีณ์ ฝ่าวิบาก, รัชนีวรรณ ตั้งภักดี
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรม
ผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับ
การวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา 3) ตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา และ 4) รับรองและนำเสนอรูปแบบ การฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับการวิเคราะห์แบบปิดเพื่อพัฒนาความสามารถรู้เท่าทันสื่อสำหรับครู สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูผู้สอนสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 274 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา จำนวน 10 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 5 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน และด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 คนเพื่อรับรองรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ และ 3) แบบรับรองรูปแบบของผู้ทรงคุณวุฒิต่อรูปแบบการฝึกอบรมผ่านสื่อสังคมฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามหรือรายการของแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูอาชีวศึกษาบางส่วนยังขาดความรู้ สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทักษะการใช้สื่อของครูยังไม่หลากหลาย 2) ร่างรูปแบบ การฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เป้าหมายของการฝึกอบรม (2) ชนิดของ การฝึกอบรม (3) เนื้อหาการฝึกอบรม (4) บทบาทผู้ให้การฝึกอบรม (5) บทบาทผู้เข้ารับการฝึกอบรม (6) บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกการฝึกอบรม (7) วิธีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมในการฝึกอบรม (8) สื่อสังคมที่ใช้ในการฝึกอบรม (9) ปัจจัยสนับสนุนการฝึกอบรม (10) การประเมินผลการฝึกอบรม ขั้นตอนการฝึกอบรมฯ (1) วิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นของการฝึกอบรม (2) ขั้นเตรียม (3) ขั้นปฐมนิเทศ (4) ขั้นฝึกอบรม ในขั้นนี้จะแบ่งออกเป็น
(4.1) การสร้างความสนใจโดยใช้การ Post เหตุการณ์ผ่าน Facebook (4.2) การสำรวจและค้นหา ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น ผ่าน Facebook (4.3) การอธิบายและลงข้อสรุป ทำกิจกรรมบนกระดานความคิดเห็น
ผ่าน Facebook (4.4) การขยายความรู้ อภิปรายและนำเสนอโดยใช้ Google Slide แชร์ URL ผ่าน Facebook
(4.5) การประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผ่าน Google Form แชร์ URL ผ่าน Facebook และ (5) ขั้นประเมินผล 3) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อร่างรูปแบบฯ โดยรวมในระดับความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.30 อยู่ในระดับมาก และ 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 5 ขั้นตอน โดยรวมในระดับความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมาก และระดับความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับมาก

Abstract : 

This research is aimed 1) to study problems and needs of media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education, 2) to develop media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education, 3) to evaluate media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education and 4) to assure and present media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis to develop media literacy of teachers under Nakhonratchasima vocational Education. The sample of this research consisted of 1) 274 teachers under Nakhonratchasima vocational Education 2) 10 of Educational specialists which consisted of 5 educational technology and 5 of communication art in order to investigate opinions of the media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis and 3) 6 of experts which comprised of 3 educational technology and 3 of communication art. This was in order to assure the media training model via social networks by using the inquiry process together with close analysis. The research instruments were questionnaire of problems and needs of media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis, questionnaire of specialists’ opinions toward media training via social networks by using the inquiry process together with close analysis and assurance forms of experts. The statistics used in the study consisted of mean, percentage, standard deviation and Index of Item Objective Congruence.
The results revealed that 1) several of teachers in vocational Education still lack of knowledge and competency of teaching professional. Moreover, information technology application and using teaching materials were still lacked. 2) the proposed model of media training was consisted of 10 elements and 5 steps as following; 1. the purposes of the training, 2. types, 3. contents, 4. roles of trainers, 5. roles of trainee, 6. roles of facilitators, 7. interaction online, 8. social media used in training, 9. factors of facilitating the training and 10. training evaluation. 3) the approaches of the training were consisted of 1. needs analysis of media training, 2.preparation, 3.orientation, 4.training stage which comprised of 4.1 arousing attention by posting the incidences on Facebook, 4.2 investigation and completing activities on comments board via Facebook, 4.3 explanation and conclusion the activities on comments board via Facebook, 4.4 expansion of knowledge, discussion and presentation by using Google slide then share URL via Facebook, 4.5 assessment using Google form then share URL via Facebook and 5.evaluation of media training model. 4) the experts rated the proposed model of media training as appropriate which was 4.30 of mean and shown in more level. In the same way, the experts rated the approaches that consisted of 7 elements and 5 steps of the proposed model of media training as appropriate which was 4.49 of mean and shown in more level .The possible level was 4.46 of mean which shown in more level.

Keywords : Media training, Inquiry process, Close analysis, Media literacy
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |