Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558
ชื่องานวิจัย (TH): การประเมินความต้องการสารสนเทศในการบริหารงบประมาณโดยระบบสารสนเทศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์
ชื่องานวิจัย (EN) : Needs Assessment of Information for Budget Administration with Information System for Schools under Maueng Prajuabkhirikhan Municipality
ผู้วิจัย : ชาลี ทองย้อย, วีระชัย คอนจอหอ และ อัญชนา พานิช
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยเรื่องการศึกษาความต้องการสารสนเทศในการบริหารงบประมาณโดยระบบสารสนเทศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศในการบริหารงบประมาณโดยระบบสารสนเทศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารงบประมาณ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานบริหารงบประมาณ ครูพัสดุ ครูการเงิน เจ้าหน้าที่การเงิน และเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการแบบเลือก 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงบประมาณมีความต้องการสารสนเทศอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่ามีความต้องการมากที่สุดคือ รายงานสรุปยอดเงินคงเหลือ รายงานการจัดสรรเงินงบประมาณ ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการสารสนเทศ รายงานการใช้จ่ายยอดเงินงบประมาณ รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง รายงานการใช้จ่ายงบประมาณตามประเภทงบประมาณ รายงานรายรับรายจ่ายยอดเงินงบประมาณ

Abstract : 

The purposes of this research was to study needs for information used in budget administration with the information system of schools under Maueng Phrachaupkhirikhan municipality. The twenty-one school budget administration personal were participated in the study research tool was a need questionnaire with a reliability of 0.86. The data were analyzed using mean and standard deviation.
The findings revealed that the personnel involving school budget administration needed for information concerned with budgeting at a high level. They needed in each item at the highest levels as the report of total remaining account and report of budget allocation respectively. Also they needed each item at the more level included reports of expenditure, procurement, expenditure in different budget categories, allocation and expenditure balance.

Keywords : Information system, Budget administration
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |