Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง การสร้างผังงาน ด้วยโปรแกรม Microsoft Visio 2010 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of Computer Multimedia Instruction for Mathayomsuksa 5, Entitled Creating Flowcharts with Program Microsoft Visio 2010
ผู้วิจัย : อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ และ ศรัณยวัฒน์ พลเรียงโพน
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง การสร้างผังงานด้วยโปรแกรม Microsoft Visio 2010 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/1 โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 35 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง การสร้างผังงานด้วยโปรแกรม Microsoft Visio 2010 แบบประเมินคุณภาพบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่องการสร้างผังงานด้วยโปรแกรม Microsoft Visio 2010 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 11 องค์ประกอบตามกระบวนการปฏิบัติ 2) คุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียอยู่ในระดับมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

The purposes of this research were to 1) develop a multimedia computer instruction entitled creating flowcharts with a program ‘Microsoft Visio 2010’ for Mathayomsuksa 5 students, 2) study the quality of the developed computer multimedia instruction, and 3) to study satisfaction of the students with learning via the developed computer multimedia instruction. The sample consisted of 35 of Mathayomsuksa 5 students at Rongkham School in Rongkham district, Kalasin province, selected by random sampling technique using a lability method. The research instruments were the computer multimedia instruction, an evaluation form of efficiency of the developed computer multimedia instruction and a satisfaction questionnaire. The statistics for analyzing the data were: mean and standard deviation.
Results of the research found that: 1) the developed multimedia computer instruction composed of 11 components; 2) the quality of the developed computer multimedia instruction was at a high level; and 3) the student showed satisfaction with learning via the developed computer multimedia instruction at the highest level.

Keywords : Multimedia, Flowcharts, practice theory, Mathayomsuksa 5
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |