Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558
ชื่องานวิจัย (TH): การวิเคราะห์ความต้องการและออกแบบเกมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ
ชื่องานวิจัย (EN) : Requirements’ Analysis and Design of Tsunami Preparedness Game to Support Learning with a Quality Function Deployment Technique
ผู้วิจัย : ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์ พรรณี คอนจอหอ และ จันทร์จิรา สังข์ทอง
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้ใช้ที่มีต่อการสร้างเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ และ 2) ออกแบบเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ การวิจัยนี้อาศัยหลักการเรียนรู้เชิงหรรษา (edutainment) ตัวแบบการเรียนรู้แบบค้นพบ (discovery learning model) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปออกแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้ต้องการเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตั้งรับภัยพิบัติสึนามิ 6 ด้านตามลำดับดังนี้ (1) เกมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ (2) เกมที่มีการสังเคราะห์เนื้อหา (3) เกมจำลองสถานการณ์ (4) ไฟล์เกมมีขนาดเล็ก (5) เกมที่เล่นบนแท็บเล็ตและ (6) เกมที่ใช้สถาปัตยกรรมแอนดรอยด์ และ 2) การออกแบบเกมตรงตามความต้องการของผู้ใช้ทั้ง 6 ด้านดังกล่าวข้างต้น และเพิ่มเติมประเด็น 3 ด้าน ดังนี้ (1) ตัวละครภายในเกมเป็นเด็ก (2) เกมที่มีการสะสมสิ่งของกและ (3) เกมที่มีการออกแบบหน้าจอหนีภัยพิบัติสึนามิ งานวิจัยในขั้นต่อไป คือ การเขียนซอฟต์แวร์เกม และการประเมินการยอมรับของผู้เรียน

Abstract : 

The objectives of this research were to: 1) study the users’ need for Tsunami preparedness game, and 2) design the Tsunami preparedness game. This research applied the concepts of edutainment, the discovery learning model, and the software development principles. The subjects of this study were 30 Mathayomsuksa 2 students. The research was undertaken using Quality Function Development (QFD) for requirements elicitation and analysis. The analyzed data were then used for game design.
The research results revealed the followings: 1) the users needed for Tsunami preparedness game with 6 respective attributes at a more level: (1) support learning, (2) provision of constructed domain, (3) simulation of events, (4) small file, (5) running on tablets, and (6) functioning on Android operating system; and 2) the 6 aforementioned attributes were used for design, with additional 3 game attributes, suggested by the subjects: (1) having child characters in the game, (2) providing items collection and rewarding points, and (3) offering the screen design showing how to escape Tsunami. Future work includes implementing the game design in writing software and evaluates learners acceptance.

Keywords : Tsunami Preparedness Game to Support Learning
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |