Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): บทบาทสตรีในการสืบทอดอาชีพการทอผ้าไหม บ้านสะผ่าย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Woman’s Role on Silk Weaving Career Inheritance of Ban Saphai, Chanasomboon District, Champasak Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : ปารมี แก้วสีพันดอน และ ศศิธร เชาวรัตน์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าไหมบ้านสะผ่าย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง 265 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan (1970) และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีทอผ้าไหมบ้านสะผ่าย ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 40 – 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี อาชีพเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือน 1,000,000 – 2,000,000 กีบ และ 2) ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมบ้านสะผ่าย พบว่า (1) การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลิตเส้นไหมไม่สามารถผลิตเองได้ เนื่องจากพื้นที่จำกัด ต้องใช้วัตถุดิบจากบ้านคิรีคำหยาด ชาวบ้านสะผ่ายนิยมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่บ้านคิรีคำหยาดแล้วส่งเส้นไหมกลับมาทอที่บ้านสะผ่าย (2) การย้อมเส้นไหม มีกรรมวิธีและเทคนิคการย้อมสีให้สวยงามและเป็นประกายแวววาวตลอดเวลา โดยใช้ปูนขาว ขมิ้นชัน คำเงาะ ผสมลงในหม้อน้ำร้อน แล้วนำไหมลงย้อม (3) กระบวนการทอผ้าของบ้านสะผ่ายมีความโดดเด่น สามารถรักษาภูมิปัญญาไว้ได้เป็นอย่างดี และสืบทอดลวดลายโบราณ และการต่อยอดประดิษฐ์ลวดลายใหม่ ทันสมัย และเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยการนำลวดลายที่มีมาแต่ดั้งเดิม เช่น ลายหมากจับ ลายขอ ลายดอกไม้ หรือลวดลายสัตว์มาผสมหรือดัดแปลง ซึ่งทุกลายล้วนมีความหมายเชื่อมโยงกับความเชื่อ (4) สตรีทอผ้าส่วนใหญ่มีความรู้ความ สามารถในการทอผ้า ยกเว้น ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าและสมาชิกกลุ่มทอผ้าเป็นผู้ออกแบบลวดลาย กำหนดลวดลาย สีสัน ราคาขาย และปริมาณการผลิต เพื่อมิให้ผลผลิตล้นตลาด

Abstract : 

The purpose of the research aimed to study silk weaving wisdoms of Ban Saphai, Chanasomboon district, Champasak province, Lao People’s Democratic Republic. The samples comprised 265 silk weaving women by Krejcie & Morgan’s table of sample size and a simple random sampling technique. The tools consisted of a questionnaire and an interview. The statistics of a mean, a percentage, and a standard deviation were employed to analyze data, including a content analysis for qualitative ones.
The findings showed that: 1) silk weaving women in Ban Saphai mostly were 40 – 50 years old, married, finished lower bachelor degree level, agriculturists, got monthly income of 1,000,000 – 2,000,000 kip. 2) Silk weaving wisdom in Ban Saphai found that: Mulberry trees couldn’t be planted for a time since land limit. Mulberry leaves were taken from Ban Kirekhamyat, either by Ban Kirekhamyat villagers or by Ban Saphai ones, planted there and took silk threads back for weaving in Ban Saphai. 2) Silk threads were dyed beautifully and sparkly by white turmeric and Anatto trees mixed in hot water and dyed them. (3) Outstanding silk weaving could be well conserved, inherited ancient patterns, created new and modern patterns for customers’ needs through a combination of old patterns of Makchap pattern, Khau pattern, Flower pattern, or Animal pattern. All patterns had meanings connected to their beliefs. (4) Most women could weave silk well. However, leaders and members of weaving silk groups were responsible directly for designing and choosing patterns, coloring, pricing, and production volume overcapacity.

Keywords : บทบาทสตรี การสืบทอด การทอผ้าไหม อาชีพ
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |