Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การศึกษาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส
ชื่องานวิจัย (EN) : Examining High School Student-generated Explanations on Acid-Base
ผู้วิจัย : จรูญลักษณ์ วรโคตร, เนตรชนก จันทร์สว่าง และ ฌานุกรณ์ ทับทิมใส
บทคัดย่อ (TH) : 

การอธิบายทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเนื่องจากเป็นพื้นฐานในการทำให้นักเรียนเกิดความแตกฉานทางวิทยาศาสตร์ ครูจึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้กระบวนการในการหาคำตอบและอธิบายว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอะไรบ้าง เกิดได้อย่างไร การส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงหลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จากแบบวัดการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด-เบส แบบทดสอบมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหา เรื่อง กรด-เบส แต่ละข้อจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามองค์ประกอบของการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ คือ ข้อกล่าวอ้าง ข้อมูล และการให้เหตุผล โดยใช้กรอบแนวคิดของ McNeill and Krajcik กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 45 คน จากโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม วิเคราะห์ข้อมูลการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ มีความสามารถในการระบุข้อกล่าวอ้างได้อย่างถูกต้อง (เฉลี่ยร้อยละ 89.33) การนำข้อมูลมาประกอบข้อกล่าวอ้าง (เฉลี่ยร้อยละ 60.89) ที่แทบจะไม่ได้คือการให้เหตุผลมาสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง (เฉลี่ยร้อยละ 0.44) ผลการวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ในการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ อันส่งผลให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ มากขึ้น

Abstract : 

Constructing scientific explanations plays a central role in learning via Inquiry approach because it is fundamental performance which is required in fostering scientific literacy. Thus, teachers need to encourage students to create a scientific explanation for describing what and how natural phenomena occur. To promote students in such an environment, students should be given the opportunity to connect data from experiments to support their claim or prediction and to justify their opinion. This study aimed to describe what grade 11 students’ scientific explanation of Acid-Base. Students’ scientific explanations were elicited by using the explanation test which was designed to cover their concept of Acid-Base. Students’ responses from this test were individually identified by level of scientific explanation based on the framework provided by McNeill and Krajcik. The completeness of constructing scientific explanation was carefully analyzed three components: claim, evidence, and reasoning. The target group was 45 students of Mathayomsuksa 5/11 enrolled in the second semester of academic year 2017 in a school at Maha sarakham Province. Percentage and average were use to analyzed data.
Research results showed that most of the students (83.33%) perform scientific explanation to claim and moderate (60.89%) students can support the evidence at level 3. Only 0.44% can perform reasoning to support the answer. The findings from this study will be a significant benefit to design the activities to support students’ performance in certain science environment. These activities will guide the students in constructing an explanation indicating a deeper understanding underlying the concept of Acid-Base

Keywords : การอธิบายทางวิทยาศาสตร์, ข้อกล่าวอ้าง ข้อมูล และการให้เหตุผล
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |