Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กลุ่ม 4 บ้านโสด เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Factors Affecting Community Participation in Forest Resources Conservation Village Group 4, Ban Sod, Khong District, Champasak Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : บันดิด สิงหาทำ, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา และ อุทัย โคตรดก
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กลุ่ม 4 บ้านโสด เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 264 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนกลุ่ม 4 บ้านโสด เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมระดับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.61 และความต้องการการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.57 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ กลุ่ม 4 บ้านโสด เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย คือ เพศ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สถานะภาพทางสังคม ความรู้ศึกเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าไม้ และอาชีพหลัก จึงสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ และสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Y = 2.707 – 0.447 (เพศ) + 0.356 (การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้) – 0.273 (สถานะภาพทางสังคม) + 0.272 (ความรู้ศึกเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าไม้) – 0.144 (อาชีพ)
Z = – 0.293 (เพศ) + 0.320 (การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้) – 0.259 (สถานะภาพทางสังคม) + 0.189 (ความรู้ศึกเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าไม้) – 0.125 (อาชีพ)
และ 3) ข้อเสนอแนะของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ต้องการให้ตรวจตราลาดตระเวนตามพื้นที่ป่าไม้เป็นประจำเพื่อไม่ให้มีการบุกรุกทำลายป่าไม้ ร้อยละ 65.5 รองลงมาคือการให้ทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการอนุรักทรัพยากรป่าไม้มากขึ้น ร้อยละ 64.0 เจ้าหน้าของรัฐต้องสมทบกับองค์การปกครองท้องถิ่นในการตรวจตราลาดตระเวนเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและเข้มงวดในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น ร้อยละ 46.2 ต้องเผยแพร่นโยบายของรัฐ กฎหมาย ระเบียบการคุ้มครองป่าไม้และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้แก่ประชาชนมากขึ้น ร้อยละ 36.7 ปลูกไม้เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์ ร้อยละ 27.7 ต้องรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่า ร้อยละ 19.3 ส่งเสรีมและสร้างงานให้ประชาชนมีงานทำเพิ่มรายได้ ทำให้ประชาชนไม่เพิ่งพาป่าไม้ ร้อยละ 17.1 จัดสันพื้นที่และแบ่งเขตความรับผิดชอบของแต่ละหมู่บ้านให้ชัดเจน ร้อยละ 12.1

Abstract : 

The objectives of this research are 1) to study problems and needs of community participation in forest resource conservation of group village 4, Ban Sod, Khong District, Champasak Province, Lao People’s Democratic republic (PDR), 2) to analyze factors influencing the community participation in forest resource conservation and 3) to find useful suggestions for study in forest resource conservation of the community participation. The samples were 264 people group village 4, Ban Sod, Khong District, Champasak Province, Lao PDR and they were selected by simple random sampling. The data were collected by questionnaires with .85 reliability index. The data was analyzed by the percentage, frequency, mean, and standard deviation. Multiple regression analysis was used for the study
The research findings showed that the overall problem of the community participation in forest resource conservation of people in village group 4, Ban Sod, Khong District, Champasak Province, Lao PDR was a at moderate level. The overall need of the people for the participation in forest resource conservation was at a high level. The factors affected the community participation in forest resource conservation in village group 4, Bansod, Khong District, Champasak Province, Lao PDR at the .05 level of statistical significance. The factors were gender, getting information of forest resource conservation, social status, ownership of forest resources and occupation. The regression equation was written as fallow:
Y = 2.707 – 0.477 (genders) + 0.356 (getting information of forest resource conservation) – 0.273
(social status) + 0.272 (ownership of forest resource) – 0.144 (occupations)
Z = – 0.293 (gender) + 0.320 (getting information of forest resource conservation) – 0.259 (social
status) + 0.189 (ownership of forest resources) – 0.125 (occupation)
The useful suggestions for the community participation in forest resource conservation were regularly patrol of forest area, particularly deforestation (65.5%). community participation in forest resource conservation (64.0), collaboration of local officers and government officers in regular patrol of deforestation (46.2 %), providing people with knowledge of laws and regulations, including policy and awareness of the importance of forest conservation (36.7 %), restoration and habilitation of forest (27.7%), prevention of wildfire (19.3%), increase of regular income of the people without forest utilization (17.1%) and clear responsible areas of the people in each community for forest conservation (12.1%).

Keywords : ปัจจัย, อิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน, การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้, กลุ่ม 4 บ้านโสด เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |