Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษี ด่านภาษีสากลวังเต่าแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Developmental Approach for Services of Fiscal Procedure Organizations in Wang Toa Customhouse, Champasak Province, LOAs PDR
ผู้วิจัย : พานุดา สีบุนยา, ธนัณชัย สิงห์มาตย์ และ รังสรรค์ สิงหเลิศ
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อการบริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อการบริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก ระหว่างกลุ่มเพศและระดับการศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก โดยทำการศึกษาจากกลุ่ม ตัวอย่าง ผู้ประกอบการที่มารับบริการหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก ในปี พ.ศ. 2560 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และ แบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 1.76 ถึง 6.573 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งหมดเท่ากับ 0.91 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการบริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านความสะดวกของอาคารสถานที่ ด้านความเสมอภาคของการบริการ และ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อการบริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก พบว่า เพศชาย และ เพศหญิง มีความพึงพอใจต่อการให้บริการไม่แตกต่างกัน แต่ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อการบริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้าน ด้านความรวดเร็วในการบริการ ส่วนด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ด้านความสะดวกของอาคารสถานที่ และด้านความเสมอภาคของการบริการมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน และ3) แนวทางการพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานขั้นตอนการแจ้งภาษีด่านภาษีสากลวังเต่า แขวงจำปาสัก คือ เพิ่มเติมเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น คอมพิวเตอร์ และ ปริ้นเตอร์ ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจตราเอกสารเพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้น อยากให้ลดขั้นตอนในการแจ้งภาษีลง เสนอให้มีการกดบัตรคิวด้วยเครื่องกดบัตรคิวอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่ควรปฏิบัติงานตรงต่อเวลาอย่างเคร่งครัด

Abstract : 

The purposes of the current study were 1) to study satisfaction levels of entrepreneurs toward services of fiscal procedure organizations in Wang Toa customhouse, Champasak province, 2) to compare level of satisfaction of entrepreneurs toward services of fiscal procedure organizations in Wang Toa customhouse, Champasak province, and 3) to study the developmental approach for services of fiscal procedure organizations in Wang Toa customhouse, Champasak province, LOAs PDR.. The samples were 300 entrepreneurs using services of fiscal procedure organizations in the area and selected by accidental and quota sampling methods. The research instrument was a set of questionnaire designed in 5 Likert scales. The questionnaire was proved to have discrimination level between 1.76 to 6.573 and reliability at .091. The data were analyzed by using Frequency, Percentage, Mean Score, Standard Deviation, and One-way ANOVA using LSD (Least Significant Difference).
The results of the study were as follow: 1) The samplers reported overall satisfaction toward the fiscal procedure organizations in Wang Toa customhouse at the high level. The aspects of personnel services, appropriateness of venues, equality of services, and speed of services were rate from highest to lowest respectively.2) In terms of the satisfaction comparison, it was found that there was no significant difference between the samplers with different genders. However, the significant differences were found among the samples with different education levels at the statistical level of .05 in the aspects of speed of services, personnel services, appropriateness of venues, and equality of services. 3) In terms of the developmental approach for entrepreneurs’ levels of satisfaction in the area, actions including provision of working accommodation such as computers and printers, provision of document checking officers, deceasing of the fiscal procedures, the uses of electronic queue machines, and insistence of personnel punctuation were suggested.

Keywords : แนวทางการพัฒนา, ความพึงพอใจ
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |