Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : The Study of Vocational Curriculum Management of the Agriculture and Forestry Colleges in LAO People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : Souphadta Boupha, อุทัย โคตรดก และ รังสรรค์ สิงหเลิศ
บทคัดย่อ (TH) : 

การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพ ของนักศึกษาของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตาม เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และ สาขาวิชาที่ศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากร คือ นักเรียนและนักศึกษา ในวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ทั้ง 4 แห่งของ สปป.ลาว จำนวนทั้งสิ้น 2,711 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความเชื่อมั่น 95% จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent samples) และ F-test (One-way ANOVA)
ผลของการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามความคิดเห็นของนักเรียนและนักศึกษา ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับ “ปานกลาง” เมื่อพิจารณาความเห็นรายด้าน ด้านที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับ “มาก” คือ ด้านอาจารย์สอน ส่วน 4 ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในดับปานกลาง เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และ ด้านสื่อการเรียนการสอน 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน เรียนชั้นปีต่างกัน และเรียนต่างสาขากัน พบว่า มีความคิดเห็น “แตกต่างกัน” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)ข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า มีความต้องการอยากให้ยกระดับมาตรฐานหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น ให้ขยายสาขาวิชาให้หลากหลายมากขึ้น และให้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี อยากให้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติมากขึ้น ให้มีการปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้เหมาะกับยุคสมัย และให้มีการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์

Abstract : 

The purposes of this study were: 1) To study the management of vocational curriculum of agricultural and forestry colleges in affiliation of the Ministry of Agriculture and Forestry. Democratic People’s Republic. 2) To compare the opinions of students of the College of Agriculture and Forestry under the Ministry of Agriculture and Forestry of Lao People’s Democratic Republic on the vocational curriculum management by sex, age, level of study and each branch of Major. 3) To collect the suggestions of students to improve the vocational curriculum management of the 4 agricultural and forestry colleges of the Lao People’s Democratic Republic. The population are 2,711 students of 4 agricultural and forestry colleges of Lao PDR. The samples size were 349. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent samples) and F-test (One-way ANOVA).
The results were as follows: 1) The management of vocational curriculum of Agricultural and Forestry College according to students’ opinions. Overall were at appropriate level. “Medium”. Considering on the individual opinion, the level of teacher aspect is “High”. The other 4 aspects appropriated in “Medium” can sort from the most to the least are the curriculum aspect, Measurement and evaluation aspect and learning media aspect. 2) The opinion of students about the management of vocational curriculum of the agricultural and forestry colleges were “different” with statistical significant at level of 0.05 by all of compared in sex, age and level of study years. 3) The most suggestions are to improve the curriculum standards, to extend more fields of study, to open undergraduate course, to focused on practice, to update the content to suit the era, and to use multimedia in class.

Keywords : การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพ, วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |