Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Motivation in Business Setting of Entrepreneurs in the Area of Daohueng Market, Pakse Champasak Province, LAO PDR
ผู้วิจัย : Vonevilay keodouangdysouphaxay, รังสรรค์ สิงหเลิศ และ อุทัย โคตรดก
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี 2560 จำนวน 34 แขนงประเภทสินค้า จำนวน 548 ร้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 231 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตการคำนวณตามวิธีของทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมารค่า มี 5 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ f-test เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี L.S.D.
ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจ ด้านปัจจัยดึงดูดอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 1 ด้าน และแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านความสามารถ หรือ ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยผลักดัน (ก่อนเป็นผู้ประกอบการ) ความต้องการความสำเร็จ และความต้องการอำนาจผู้ประกอบการที่มีเพศแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 1 ด้าน คือปัจจัยด้านความสามารถ หรือปัจจัยสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการประกอบธุรกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 ด้าน คือด้านปัจจัยดึงดูด ด้านความต้องการอำนาจ
ผู้ประกอบการที่มีระยะการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการประกอบธุรกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 4 ด้าน คือด้านปัจจัยดึงดูด ปัจจัยผลักดัน ปัจจัยด้านความสารถ หรือ ปัจจัยสนับสนุน และความต้องการอำนาจแนวทางการเพิ่มแรงจูงใจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดดาวเรือง เมืองปากเซแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เรียงลำดับความถี่จากมากไปน้อย ได้แก่
1) ควรลดค่าเช่าตึกลงอีก 2) ควรลดค่าชำระอากรลงอีก 3) ควรมีการส่งเสริมการขายโฆษณาตลาดให้เป็นที่รู้จักของคนต่างถิ่นมากขึ้น 4) ควรจัดสรรสถานที่จอดรถให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกต่อการเดินทางมาซื้อของ 5) ควรควบคุม และ เพิ่มพนักงานรักษาความสะอาดบริเวณตลาดมากขึ้น และ 6) จัดสรรแบ่งโซนประเภทสินค้าให้ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อง่ายต่อการซื้อขาย

Abstract : 

The purposes of the study were 1) to study the motivation levels of entrepreneurs in the area of Daohueang market, Pakse distict, Champasak province, Lao PDR, 2) to compare the motivation levels of entrepreneurs in the area of Daohueang market, Pakse distict, Champasak province, Lao PDR, and 3) present the developmental approach to increase the motivation levels of entrepreneurs in the area. The population groups of this research were 548 shops in 34 retail categories in the area of Daohueang market, Pakse distict, Champasak province, Lao PDR. The samples were 231 entrepreneurs selected by Taro Yamane’s sampling method. The instrument was a set of questionnaire designed in 5 Likert scales. The data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean Score, Standard Deviation, T-test, F-test (L.S.D).
Results of the study were as follows: It was found that motivation levels of entrepreneurs in the area of Daohueang market, Pakse distict, Champasak province, Lao PDR was at high level over all. Considering each aspect, one aspect was found at the very high level, and four aspects were found at the high level. The aspects of competency, supporting background (before starting businesses), desire in success, and desire in power were rated in an order.
In terms of gender, there was no significant difference among the entrepreneurs. However, significant difference was found at the statistical level of .05 in the aspect of competency and supporting background.
In terms of income, there was also no significant difference among the entrepreneurs. Considering each aspect, two aspects- attractive factors and desire in power, were found to have significant differences among the samplers at the statistical level of .05. In terms of the operational period, there was no significant difference found among the entrepreneurs who operate their business in different time periods. However, attractive factors, supportive background, competency, and desire in power were the aspects found to have significant differences at the statistical level of.05. Lastly, the developmental approach to increase the motivation of entrepreneurs in the area could include the actions in 1) rental cost decreasing, 2) custom rate decreasing, public relation to reach attention of travelers, 4) provision of parking areas, 5) effective management of market cleaners, and 6) clear categorization of retail areas.

Keywords : แรงจูงใจ , ผู้ประกอบการ
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |