Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การบริหารจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Participatory Irrigation Management of Farmer Water Users in Somhong Electric Pumping Station, Champasak District, Champasak Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : บัวสิด พิมพะเสน, ศศิธร เชาวรัตน์ และอุทัย โคตรดก
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชลประทาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ผู้ใช้น้ำชลประทานในพื้นที่รับน้ำจากโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 173 คน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วม และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการชลประทานแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t (t-test Independent) และค่า F-test (One-way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มีอาชีพหลัก คือ ทำนา มีรายได้ครัวเรือน/ต่อปี 5,000,001-10,000,000 กีบ มีพื้นที่ทำการเกษตรที่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทาน ขนาดกลาง (1.01-1.5 เฮกตาร์) มีประสบการณ์ในการใช้น้ำ ต่ำกว่า 10 ปี มีสถานภาพทางสังคมเป็นลูกบ้าน 2) การบริหารจัดการชลประทานโดยรวมมีการบริหารจัดการอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่อประชาชน อย่างจริงจังและจริงใจ เจ้าหน้าที่จัดประชุมชี้แจง เรื่องการบริหารจัดการน้ำชลประทานให้แก่สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ และเจ้าหน้าที่จัดพิมพ์แผ่นพับเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโครงการระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชลประทานของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โดยรวมกลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง โดยผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชลประทานของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม และประสบการณ์ในการใช้น้ำ มีรายได้ครัวเรือนต่อปี ที่มีขนาดพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชลประทานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการบริหารจัดการการชลประทานของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านส้มโฮง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ควรสร้างความเข้าใจในการมีส่วนร่วมถึงเหตุผลความจำเป็นหน้าที่และประโยชน์ที่ได้รับ ให้เกษตรกรได้รับทราบเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจและสมัครใจ ฝึกอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อม มีความรู้ความเข้าใจในการทำกิจกรรมแบบให้เกษตรกรมีส่วนร่วมโดยมีการทำข้อตกลงของการมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่พัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำด้วยการก่อตั้งฟื้นฟูและสร้างความเข้มแข็งให้สอดคล้องกับเป้าหมายการมีส่วนร่วม กำหนดบทบาทหน้าที่ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนประกาศให้ทราบทั่วกัน โดยมีระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อทราบความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคนำมาปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมสู่ความสำเร็จและยั่งยืนต่อไป

Abstract : 

The research aimed to study the general state, study participation in the management of the irrigation, and study guidelines on participatory irrigation management of the water users in the electric pumping project of Ban Somhong, Muang Champasak, Champasak District, Lao People Democratic Republic. The sample comprised 173 agriculturists who were members of the irrigated water user group in the catchment area of the electric pumping project of Ban Somhong, Muang Champasak, Champasak District, obtained through cluster sampling. The sample size was determined according to the Yamane’s formula. The instrument for data collection was a 5-level rating scale questionnaire with the reliability of 0.957. The statistics employed in data analysis were percentage, the mean, standard deviation, and t-test (independent) and F-test (One-way ANOVA) were employed in hypothesis testing.
The results are as follows:: 1) Regarding the general state of the water user group in the electric pumping project of Ban Somhong, Muang Champasak, Champasak District, Lao People Democratic Republic, most of the members were males aged 41 – 50 with elementary education; their main occupation was growing rice; the household annual income was 5,000,001-10,000,000 Kips. The agricultural area in the catchment area was of the medium size (1.01-1.5 hectares). The experience of using water was less than 10 years. Their social statuses were villagers. 2) The overall irrigation management was at a moderate level. Ranked in descending order according to the mean, the top 3 activities are: the officials worked earnestly and sincerely for the people, the officials held meetings to inform and explain the irrigation management to the water user group members, and the officials handed out brochures to dissiminate the information on the project. The level of participation of the water user group members, on the whole, was at a high level. When considered by aspect and ranked in descending order, the aspects are as follows: participation in carrying out activities and participation in sharing the benefit are in the high level, meanwhile, participation in decision making and participation in following-up and evaluation were in the moderate level. The comparison of participation in the irrigation management of the water user group members in the electric pumping project of Ban Somhong, Muang Champasak, Champasak District, Lao People Democratic Republic indicated that the water user group members with a different sex, age, level of education, social status, experience of using water, annual household income and size of the agricultural area, had a difference in their participation in the irrigation management, on the whole and on every aspect, with statistical significnce at the .05 level. and 3) Regarding guidelines on the irrigation management of the wate user group in the electric pumping project of Ban Somhong, Muang Champasak, Champasak District, Lao People Democratic Republic, the following were suggested: understanding in the rationale, duties of the agriculturists and the benefits of participation in the project should be built in order for the agriculturists to understand and participate in the project willingly and voluntarily; the officials should be trained to be ready, with knowledge and understanding of carrying out participatory activities for agriculturalists; agreements between the agriculturists and the officials should be made in order to develop the water user group by setting up, reviving, and empowering the group in a way that is consistent with the goals of participation. The roles and duties of the agriculturists and the officials should be clearly defined and made known to everyone concerned, with a following-up and evaluation system so as to make known successes and obstacles which lead to further adjustments of the work for further success and sustainability.

Keywords : การบริหารจัดการชลประทาน, การมีส่วนร่วม, กลุ่มเกษตรผู้ใช้น้ำ, โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |