Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การศึกษาแนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนที่ดินของประชาชน ในแขวงสาละวัน สปป.ลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : A Study of Developmental Approach for Land Registration of People in Salawan Province, LOAs PDR
ผู้วิจัย : Souphaxay Bounyong, รังสรรค์ สิงหเลิศ และ อุทัย โคตรดก
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ตามนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ตามนโยบายของรัฐบาลระหว่างประชาชนที่มี เพศ การศึกษา และ อาชีพ ที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนที่ดินของประชาชนในแขวงสาละวัน สปป.ลาว โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง โดยมีค่าความเชื่อมั่นในแต่ละตัวแปร ระหว่าง 0.86 – 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ออกใบตาดิน (โฉนดที่ดิน) ของประชาชนใน เมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สปป.ลาว อยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้าน ด้านค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนที่ดิน ด้านเวลาในการขึ้นทะเบียนออกใบตาดิน ด้านการปฏิบัติงานของพนักงาน และ ด้านเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ส่วนด้านภาคเสนอประชาชน อยู่ในระดับมาก และ ด้านข้อขัดแย้งทางด้านที่ดิน อยู่ในระดับน้อยที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ออกใบตาดินของประชาชนใน เมืองสาละวัน แขวงสาละวัน สปป.ลาว ระหว่างกลุ่มเพศ และ กลุ่มระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน ออกใบตาดินระหว่างกลุ่มอาชีพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนที่ดิน ได้แก่ ให้รัฐช่วยในการขึ้นทะเบียนที่ดินแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้รัฐช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมบางด้าน ให้รัฐช่วยจ่ายค่าหลักเขตที่ดิน ให้รัฐช่วยจ่ายค่าธรรมเนียมครึ่งหนึ่ง ให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม และ ค่าบริการ ให้รัฐมีมาตรการให้ทุกคนต้องได้ขึ้นทะเบียนที่ดิน ให้ประชาสัมพันธ์การขึ้นทะเบียนที่ดิน ให้ใช้เวลาในการขึ้นทะเบียนที่ดินเร็วขึ้น ส่วนสาเหตุที่ประชาชนไม่ต้องการที่จะขึ้นทะเบียนที่ดินที่มีอยู่ เนื่องจาก ไม่มีเงินค่าใช้จ่าย มีข้อขัดแย้งในที่ดิน ยังไม่ได้แบ่งมรดก ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการขึ้นทะเบียนที่ดิน และ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนที่ดิน

Abstract : 

The purposes of the current study were to 1) investigate people’s opinions regarding to land registration following the policy of LOAs PDR. Government, 2) compare people’s opinions regarding to land registration following the policy of LOAs PDR. Government using gender, education level, and occupation as variables, and 3) study the developmental approach for land registration of people in Salawan Province, LOAs PDR. The sampling were 396 people in Salawan Province, LOAs PDR. selected by using multistage sampling method. The research instruments were interview form having components of a questionnaire tested to have reliability level between 0.86-0.94. The statistics used in the data analysis were Frequency, Mean, Percentage, Standard Deviation, t – test (Independent Samples), and One-way ANOVA.
The results of the study showed that four aspects regarding to land registration including cost of land registration, duration in title deed issuing, personnel performance, and land registration satisfied people in Salawan province at the moderate level. The aspect of public relation was found at the high level, and management of disagreement was found at the low level. In terms of the comparison of people’s opinion regarding to the land registration policy, it showed that there was no significant difference in the gender and education level variables while significant difference was found in the occupation variable at the statistical level of .05. Lastly, developmental approach for land registration of people in Salawan Province, LOAs PDR included assistance in land registration fee e.g., government full or half financial support in customs, cost of landmarks, and other services; standardized regulation that all must take the registration process; public relation in land registration; and effective registration processes that could reduce procedural time. In terms of reasons in the registration denial, the result indicated that financial struggle, disagreement in land ownership, legal issues in family heritage, unawareness of importance of land registration, and lack of land registration comprehension were the causes making people not wanting to take land registration processes.

Keywords : แนวทางการพัฒนา, การขึ้นทะเบียนที่ดิน, ใบตาดิน (โฉนดที่ดิน)
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |