Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงกสิกรรม และป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : The Study of Learning Environment of the Colleges in Affiliation of ministry of Agriculture and Forestry, LAO People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : Kasy Xaingaseng*, อุทัย โคตรดก และ รังสรรค์ สิงหเลิศ
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร บุคลากรบริหาร ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ทั้ง 4 แห่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เปรียบเทียบและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ตามความคิดเห็นของบุคลากร ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ทั้ง 4 แห่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) ศึกษา และ รวบรวม ข้อเสนอแนะในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของผู้บริหาร บุคลากรบริหาร ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ทั้ง 4 แห่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากร คือ ผู้บริหาร บุคลากรบริหาร ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา ในวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ทั้ง 4 แห่งของ สปป.ลาว จำนวนทั้งสิ้น 3,010 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน จำนวน 353 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent samples) และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลของการวิจัยพบว่า การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและบุคลากรบริหาร ครู-อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ในภาพรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีคะแนนความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีคะแนนความเหมาะสมสูงกว่าด้านอื่น คือ ด้านบุคลากร ด้านที่มีคะแนนความเหมาะสมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับด้านอื่น ๆ คือ ด้านบริหาร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถามพบว่า ข้อที่มีคะแนนความเหมาะสมมากที่สุด คือ มีการแต่งตั้งครูที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน (ด้านบุคลากร) รองลงมาคือ มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบทเรียน (ด้านสื่อการเรียนการสอน) คะแนนน้อยที่สุดคือ “มีโรงอาหารที่สะอาด (ด้านอาคารสถานที่) คะแนนน้อยรองลงมาคือ มีการจัดบริการห้องน้ำและน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ (ด้านบริหาร) 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากรบริหาร ครูอาจารย์ และนักศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีความเห็น ไม่แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 2 ด้านคือ ดานการจัดการเรียนการสอน และด้าน บุคลากร และ 3) ผลการศึกษาและรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของวิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ในสังกัดกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า มีความต้องการให้ฝ่ายบริหารจัดให้มีโรงอาหารที่สะอาด มีขนาดที่กว้างขวางเพียงพอ มีบริการขายอาหารที่สะอาดในราคาที่เหมาะสม จัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอ และให้มีการจัดบริการสุขภาพภายในวิทยาลัย

Abstract : 

The purposes of this study were: 1. to study the opinion of administrative staff, teachers and students about the level of appropriateness of learning environment management of the four agricultural and forestry colleges in affiliation of ministry of agriculture and forestry of the Lao People’s Democratic Republic. 2. To compare the level of appropriateness of learning environment management of the colleges according to the opinions of administrative staff, teachers and students of the 4 agricultural and forestry colleges of the Lao People’s Democratic Republic. 3. To collect the suggestions of administrative staff, teachers and students to improve learning environment of the 4 agricultural and forestry colleges of the Lao People’s Democratic Republic
The results were as follows: 1.The opinion of administrative staff, teachers and students about the level of appropriateness of learning environment management of the four agricultural and forestry colleges in affiliation of ministry of agriculture and forestry of the Lao People’s Democratic Republic in all of aspects were at appropriate level Medium. 2. By comparison, the opinion of administrative staff, teachers and students about the level of appropriateness of learning environment management of the 4 agricultural and forestry colleges in affiliation of ministry of agriculture and forestry of the Lao People’s Democratic Republic were not different with statistical significant at level of.05. But the result of the opinion comparison of each learning environment aspects were different in teaching and learning management aspect and personnel management aspect with statistical significant at level of 0.05 3. The most suggestions concerned on clean and reasonable priced food, cleaned water, adequate cafeteria and to set up provided health services for all the college members.

Keywords : สภาพแวดล้อมการเรียนรู้, การศึกษาสภาพแวดล้อม
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |