Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพระเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป. ลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Guidelines for Ecotourism Development of Khone Phapheng Waterfall, Mueang Kong, Champasack Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : ไพมานี บุบผาพัน, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา และ ศศิธร เชาวรัตน์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพะเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก 2 ) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็ง และ 2 กำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็งประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวน้ำตกคอนพะเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 200 คน ประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 50 คน ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จำนวน 20 คนนักท่องเที่ยวชาวลาวที่มาเที่ยวน้ำตกคอนพะเพ็ง ในปี 2559-2560 จำนวน 80 คน และประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกคอนพะเพ็งบ้านท่าค้อจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจับ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนข้อมูลบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อัตราร้อยละ 59 ส่วนมากอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นอัตราร้อยละ 53.5 และส่วนมากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นอัตราร้อยละ 57.5 ประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทอัดตราร้อยละ 35 และรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 1500000-2000000 กีบ คิดเป็นอัตราร้อยละ 53 2) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อสภาพปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็งโดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ (1) มีอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (2) สถานที่อำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด (3) การประสานงานและการประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัญหาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพะเพ็งโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย พิจารณารายด้าน พบว่า 3 อันดับแรกของปัญหาได้แก่ (1) ระบบการบริหารจัดการ (2) จำนวนนักท่องเที่ยวจะมีมากเฉพาะในช่วง high season เท่านั้น (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อในการวางแผนบริการจัดการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับและ 4) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ต่อความต้องการในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพะเพ็งโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้าน พบว่า 3 อันดับแรกได้แก่ (1) การพัฒนาการบริการของบุคลากร (2) กิจกรรมการท่องเที่ยวน้ำตกคอนพะเพ็งที่มีคุณภาพ (3) และกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน้ำตกคอนพะเพ็ง

Abstract : 

The purposes of the research were to analyze current conditions, problems and needs of people for ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall, Mueang Kong, Champasack Province, Lao People’s Democratic Republic, and to establish the guidelines for participatory ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall of all sectors. The research was divided into two phases : 1) analysis of current conditions, problems and needs for ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall, and 2) establishing guidelines for ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall.
The study showed that 1) the respondents regarding their personal data was mostly 59% of male, 53.50% of the age at 31-40, 57.50% of bachelor degree education, 35% of company officers and 53% of 1500000-2000000-kip salary. 2) The overall opinion of the tourists toward the current conditions of Khone Phapheng Waterfall was at a high level. Three high rated items of the conditions were modern equipment and facilities available for the services of tourists 2), information center and sufficient recreation 3), and public relations in tourism respectively. 3) The overall opinion of the tourists toward the problems of Khone Phapheng Waterfall was at a low level. Three low rated items of the problems were a management system and service, many tourists during high season. 3), and ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall without the participation of all sectors respectively. and Lastly, the overall opinion of the tourists toward the ecotourism development of Khone Phapheng Waterfall was at the highest level. Three high rated items of the development were improving the service quality, providing tourists with more ecotourism activities and environmental preservation of Khone Phapheng Waterfall respectively.

Keywords : แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ น้ำตกคอนพระเพ็ง เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |