Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559
ชื่องานวิจัย (TH): พฤติกรรมการสอบถามข้อมูลทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ชื่องานวิจัย (EN) : Consumer Behaviors of Medical Information Via the Internet System
ผู้วิจัย : บุญยฤทธิ์ ศรีปาน, อนันตกุล อินทรผดุง, เริงวุฒิ ชูเมือง และ วุฒิ สุขเจริญ
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการข้อมูลทางการแพทย์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ 2) ศึกษารูปแบบคำถามข้อมูลศูนย์บริการทางการแพทย์ กลุ่มข้อมูลสำคัญในการวิจัยนี้ประกอบไปด้วยรูปแบบข้อมูลคำถาม ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคมในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 1,020 ชุดคำถามโดยจะพิจารณาคัดเลือกจากคำถามที่เกิดขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไชต์ อิเมล และโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่มีการติดต่อโดยตรงมายังโรงพยาบาลซึ่ง มีประเด็นคำถามที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบความต้องการทางการแพทย์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างระหว่างความถี่โดยใช้ Chi-square test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนมากเพศหญิงมีจำนวนคำถามมากกว่าเพศชาย และ 2) เพศชายและเพศหญิงมีรูปแบบคำถามที่ต้องการข้อมูลเพื่อความเข้าใจทางการแพทย์ ไม่แตกต่างกัน เพศชายและเพศหญิงต่อศูนย์บริการทางการแพทย์ไม่แตกต่างกัน แต่ศูนย์บริการทางการแพทย์มีรูปแบบคำถามแตกต่างกัน

Abstract : 

This research aimed to 1) study consumer behaviors of medical information the Internet and 2) study patterns of questions about medical information. The researcher brought the information of medical requirements which were happened to check the completion of questionnaire. Then, the types of medical requirements were selected, arranged classified and specified codes and analyzed. The group of important information included the pattern of questions which happened during January – December 2015 for 1,020 questions. The questions which were asked via internet were considered by many channels such as website, e-mail, social media etc. which contacted directly to hospitals. The general information of pattern of medical requirements and the samples were analyzed using frequency, percentage and the chi-square test was employed for testing.
The results found that 1) general information of the person who ask for medical information were female and most of questions were used to serve the interest about medical information. 2) The users with different are did not use patterns of medical question different. Also the target group did not was different question at the medical center. However, users at different medical centers used different patterns of questions (p=.000).

Keywords : The Communication via Internet, Medical Information, Behaviors of Consumers
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |