Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561
ชื่องานวิจัย (TH): รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่องานวิจัย (EN) : CIPPA Model and Think Pair Share Technique for Learning Activity Management by Using Cartoon Lessons of Mathematics Subject on the Topic of “Weighing and Measuring” for 3rd Grade Students
ผู้วิจัย : อรพร ภูมิลี
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 9 คน ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน ครูหรือผู้อำนวยการจากสถานศึกษาจำนวน 3 คน และนักวิชาการสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาด้านการศึกษา สาขาวิจัยการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนการ์ตูน เรื่องการชั่ง การตวง ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่ 1 นโยบาย ประกอบด้วย 1) นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษา 2551 2)นโยบายสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3)นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 4)นโยบายโรงเรียนบ้านขอนแก่น 5)นโยบายกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส่วนที่ 2 หลักการ/ทฤษฎี ประกอบด้วย 1)ทฤษฎีการเรียนรู้ 2) การวัดประเมินผล 3)กระบวนการกลุ่ม 4) การยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ส่วนที่ 3 การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ส่วนที่ 4 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ส่วนที่ 5 นวัตกรรม และส่วนที่ 6 ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนได้แก่ ดังนี้ ขั้นที่1 การทบทวนความรู้เดิม เพื่อแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ /กิจกรรมเร้าความสนใจและทำแบบทดสอบก่อนเรียน ขั้นที่2 การแสวงหาความรู้ใหม่ โดยการใช้สื่อนวัตกรรมบทเรียนการ์ตูน ส่วนขั้นที่3 การศึกษาทำความเข้าใจ / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นที่4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มและขั้นที่5 การสรุปจัดระเบียบความรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการคิดเดี่ยว (Think) 2) ขั้นการคิดคู่ (Pair) 3) ขั้นการนำเสนอผลงาน (Share) ขั้นที่6 การปฏิบัติ และ/หรือ แสดงผลงาน เพื่อให้นักเรียนนำเสนอผลงานคัดเลือกผลงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน และ ขั้นที่7 การประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อให้การบ้าน/คำถาม/กิจกรรมท้าทาย/กิจกรรมส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้จริงและทำแบบทดสอบหลังเรียน
2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ (ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ด้านความเหมาะสมด้านนวัตกรรมการเรียนรู้บทเรียนการ์ตูน (ค่าเฉลี่ย4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบกรอบนโยบาย (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักการ ทฤษฎี (ค่าเฉลี่ย4.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) ความเหมาะสมขององค์ประกอบการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) และ ความเหมาะสมของตัวชี้วัด (ค่าเฉลี่ย4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54)

Abstract : 

The objectives of the research were to synthesize models for learning activity management with ZIPPA model and Think Pair Share technique by using cartoon lessons of Mathematics subject on the Topic of “Weighing and Measuring” for 3rd grade students and to assess the appropriateness of the model for learning activity management. The target population was nine participants consisting of three supervisors, three teachers of school administrators and three university lecturers with doctoral degrees in educational research or teachers with expert level. The instrument was a questionnaire on the appropriateness of the learning model for the experts. The statistics used were mean and standard deviation.
Results of the research were as follows:
1. The study showed that the ZIPPA model and Think Pair Share technique by using
cartoon lessons of Mathematics subject consisted of six parts: 1) policy, 2) principles and theories, 3) learning management, 4) learning standards/indicators, 5) innovation and 6) indicators
2. The overall opinion of the experts toward the appropriateness of the model was at the highest level. Six high rated items of the appropriateness were the model (X = 4.89, S.D. = 0.54), innovation for learning (X = 4.89, S.D. = 0.54), policies (X = 4.84, S.D. = 0.54), learning (X = 4.84, S.D. = 0.54), indicators (X = 4.84, S.D. = 0.54). and principles and theories (X = 4.83, S.D. = 0.54).

Keywords : Model, ZIPPA Model, Think-Pair-Share technique, Cartoon Lessons
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |