Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561
ชื่องานวิจัย (TH): รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านดอนแดง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : A Model of Community Development for Sustainable Self-Sufficiency : A Case study Dondang Village, Kantharawichai District, Maha Sarakham province
ผู้วิจัย : รังสรรค์ สิงหเลิศ และ นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยพิจารณาจาก (1) รายได้ครัวเรือน (2) รายจ่ายครัวเรือน (3) จำนวนพืชเพื่อการยังชีพ (มะละกอ พริก มะเขือ ตะไคร้ หอม กระเทียม มะนาว ย่านาง ถั่วฝักยาว กล้วย ข่า ตำลึง ไผ่ ผักกาด ผักคะน้า สะหระแหน่ ผักชีจีน ผักชีไทย ใบมะกรูด ฯลฯ) (4) จำนวนสัตว์เพื่อการยังชีพ (เป็ด ไก่ ปลา กบ จิ้งหรีด ฯลฯ) (5) จำนวนเห็ดเพื่อการยังชีพ (เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู) (6) จำนวนสินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อจากร้านค้า (พริก ข่า ตะไคร้ ย่านาง มะละกอ มะเขือ หอม กระเทียม มะนาว ถั่วฝักยาว กล้วย ตำลึง หน่อไม้ ผักกาด ผักคะน้า สะหระแหน่ ผักชีจีน ผักชีไทย ใบมะกรูด น้ำยาล้างจาน ยาสระผม สุรา บุหรี่ ฯลฯ) และ (7) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้วิจัย ผู้นำชุมชน หัวหน้าครัวเรือนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ โดยใช้กิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธ์กับชุมชน 2) การสำรวจและการศึกษาชุมชน 3) การเตรียมคนและเครือข่ายความร่วมมือ ระยะที่ 2 ดำเนินการวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบโดยการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาชุมชน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 นำไปใช้และติดตามประเมินผลรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยใช้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 58 คน และเปรียบเทียบ รายได้ครัวเรือน รายจ่ายครัวเรือน จำนวนพืชเพื่อการยังชีพ จำนวนสัตว์เพื่อการยังชีพ จำนวนเห็ดเพื่อการยังชีพ และความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ก่อนและหลังการการพัฒนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วย MANOVA (Repeated Measure)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ปลูกมันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์ โดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ หัวหน้าครัวเรือนต้องการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก การทำปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงกบ การเลี้ยงจิ้งหรีด การเลี้ยงวัว การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงเป็ดเทศและ การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
2. รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่ผ่านการพิจารณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผ่านการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรม ได้จำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การทำผ้าหมี่ย้อมคราม 2) การส่งเสริมอาชีพกองทุนหมู่บ้าน 3) การทำไร่นาสวนผสม 4) การปรับภูมิทัศน์จัดสวนหน้าบ้าน 5) การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 6) การเลี้ยงและขยายพันธุ์สุกร 7) การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด 8) การปลูกละมุด 9) เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยจากสารพิษ และ10) การเพาะเห็ดขอนขาว
3. จากการเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า รายได้ครัวเรือน รายจ่ายครัวเรือน จำนวนพืชเพื่อการยังชีพ จำนวนสัตว์เพื่อการยังชีพ จำนวนเห็ดเพื่อการยังชีพ จำนวนสินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อจากร้านค้า และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ หลังการพัฒนา รายได้ครัวเรือน จำนวนพืชเพื่อการยังชีพ จำนวนสัตว์เพื่อการยังชีพ จำนวนเห็ดเพื่อการยังชีพ และ ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น ส่วนรายจ่ายครัวเรือน และจำนวนสินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อจากร้านค้าลดลง
สามารถสรุปรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ได้เป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 2) ทัศนศึกษาดูงานหมู่บ้านต้นแบบ 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของชุมชน 4) ร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการ และเลือกกิจกรรมที่จะนำไปปฏิบัติที่เหมาะสม 5) ลงมือปฏิบัติ และ 6) คืนความรู้สู่ชุมชน

Abstract : 

The purpose of the research was to analyze current conditions, problems and needs of
Community Economic Development for Self-Sufficiency and Sustainable a case study of Ban , Ban Srisuk Sub-District, Kantharawichai District, Maha Sarakham province, 2) to design a model of Community Development for Sustainable Self-Sufficiency, and 3) to try a model out on the target population. The research methodology was divided into three phases:
1.Pre-research phase focused on improving relationships of researcher, community leaders, family leaders and officers. The activities consisted of 1) improving relationships with community, 2) surveying and studying community and 3) preparing staff and collaborative networks.
2. Research phase focusing on designing and developing a model of Community Economic Development for Sustainable Self-Sufficiency. The activities included study and analysis of 1) community problems, and 2) design and development of a model.
3. Model implementation and evaluation focused on evaluating the model by comparing the outcomes before and after using the model. The evaluation focused on 7 dependent variables: family income, family expense, amount of crops, number of animals, mushroom, amount of consuming products and satisfaction. MANOVA (Repeated Measure) was employed for the comparative analysis.
Results of the research were as follows:
1. The finding showed that the main problems in community were lack of occupational knowledge and skills of farmers, bad crop harvest including low income. The needs of people in community were development of occupation knowledge and skills and extra income.
2. The study showed that the model of Community Development for Sustainable Self-Sufficiency consisted of 10 activities: 1) The Mi-dyed fabrics Threat, 2) Career promotion fund, 3) self-growing vegetables, 4) improving landscape, 5) raising indigenous chickens, 6) raising home pigs, 7) organic fertilizer, 8) fruit growing 9) organic farm , and 10) mushroom reproduction.
3.The finding indicated that family income, family expense, amount of crops, number of animals, mushroom, amount of consuming products and satisfaction of the people after and before using the model were different at the .05 level of statistical significance. The research showed that family income, amount of crops, number of animals, mushroom, and satisfaction of the people after using the model were increase but family expense and amount of consuming products were decrease. In conclusion, the model of Community Development for Sustainable Self-Sufficiency is composed of six steps: 1) building community relations, 2) a study visit to the community development model, 3) contextual study and need analysis, 4) participatory need analysis and activity selection, 5) action, and 6) knowledge transfer to community.

Keywords : Community Development , Sustainable Self-Sufficiency
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |