Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : The Model Development to Promote ICT Competency for Students of the Faculty of Education, The Institute of Physical Education Maha Sarakham Campus
ผู้วิจัย : ทวีสุข โภคทรัพย์
บทคัดย่อ (TH) : 

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน ความต้องการ และแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ การส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษา ผลการทดลองใช้กิจกรรมรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม 4) เพื่อศึกษาการยอมรับ และการนำไปใช้ของผู้เรียนหลังจากผ่านการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินกรอบสมรรถนะการใช้ไอซีที จำนวน12 คน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอก พลศึกษา กลุ่มทดลอง 30 คน ระยะที่ 3ได้แก่ นักศึกษากลุ่มทดลองจริงภาคสนาม ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอกพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประเมิน กรอบสมรรถนะด้านไอซีที แบบประเมินรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้ารับการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที แบบประเมินคู่มือการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที และแบบประเมินการยอมรับรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน หาประสิทธิภาพของรูปแบบตามแนวคิดของเมกุยแกนส์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสารของนักศึกษา พบว่า นักศึกษายังไม่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้ นักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นนักกีฬา และเรียนรายวิชาทาง เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย หลักสูตรที่เรียนเป็นหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต จบแล้วเป็นครูทางพลศึกษา มีการออกฝึกสอนตามโรงเรียน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมาหาสารคาม จึงได้ตระหนักให้นักศึกษาเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารทางการศึกษา เพื่อพัฒนาสื่อการสอน และรูปแบบการสอนที่ทันสมัยนำไปใช้กับการเรียนการฝึกสอนต่อไป 2. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที มี 6 องค์ประกอบไดแก่ 1) นโยบายหลักการ 2) กรอบสมรรถนะด้านไอซีที 3) การทดสอบสมรรถนะ4) กระบวนการส่งเสริมสมรรถนะ 5) สื่อสังคมออนไลน์ และ 6) ตัวชี้วัด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมตามรูปแบบมีค่า มากกว่า 1 ถือว่าประสิทธาภาพสูง สามารถนำไปส่งเสริมสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดลองด้านความรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดลองด้านปฏิบัติผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ารับการอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการศึกษาการยอมรับรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ระดับการยอมรับนักศึกษาที่เข้าอบรม พบว่าอยู่ในระดับมาก

Abstract : 

The research objectives were 1) to study the current instruction problems, needs, and ICT competency framework for students of the Faculty of Education the institute of physical education Mahasarakham campus, 2) to develop the model to promote ICT competency for students of the faculty of Education, the institute of physical education Mahasarakham campus, 3) to study the result of the experiment on implementing the activity based on the developed model to promote ICT competency for students of the Faculty of Education the institute of physical education Mahasarakham campus, 4) to study the assimilation and application of the students after having been involved in the developed model to promote ICT competency for students of the Faculty of Education the institute of physical education Mahasarakham campus. The target group was, phase one; 12 experts to evaluate the model framework , phase two; 5 experts and 30 year 2 students majoring physical education for the experiment group, phase three; 32 year 2 students, majoring in physical education. Research instruments were the evaluative questionnaire on ICT competency framework, the evaluative questionnaire on model to promote ICT competency, the questionnaire on opinion on ICT competency, the evaluation form on ICT competency manual, and evaluation form on the accept of the model. The descriptive statistics were employed to analyze the collected data meanwhile Meguigans technique was employed to validate the efficiency of the developed model.
The results were as follows.
1. According to the results on the current instruction problems, needs, and guideline to promote ICT competency, students could not apply information technology to their learning, most of them were athletes, and studied few courses on information technology, their field of study was Education majoring in physical education which the graduates aimed to be physical education teacher, they had to do practicum at secondary school. The institute of physical education Mahasarakham campus realized that those students should be the teacher under the 21st Century teacher policy which focuses on employing innovation together with information and communication technology in education in order to develop teaching material to be used in practicum and in their teaching profession. 2. According to the development on the model to promote ICT competency, 6 elements were identified which were 1)policy or principle, 2) ICT competency framework, 3) competency test, 4) the process on competency promotion, 5) online social media, and 6) indicators. 3. According to the results of the experiment, the score on the efficiency of activities based on the developed model was more than 1 and was prescribed as high efficiency and could be employed to promote ICT competency effectively. The results of the experiment on knowledge was that the score of post training was higher than the before statistical significance at .05 confidence level. The results of the experiment on practice was that the percentage of 80 was higher than the criterion set whereas the satisfaction of students on training was in much level 4. According to the results of model acceptance, students who attended the training accepted the developed model in the much level.

Keywords : Framework of Information and Communication Technology (ICT) Competency, Students of the Faculty of Education, The Institute of Physical Education Maha Sarakham
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |