Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานวิจัย (EN) : Developing an Inquiry-Based-Learning Method in Science by Integrating Think-Pair-Share Technique for 6th Grade Students
ผู้วิจัย : จุฑามาศ ผกากลีบ
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการ
เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน จัดแบ่งเป็นกลุ่มครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน กลุ่มศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน และกลุ่มนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านนโยบาย องค์ประกอบด้านหลักการทฤษฎี องค์ประกอบด้านบูรณาการ องค์ประกอบด้านตัวชี้วัด และองค์ประกอบด้านนวัตกรรม 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบกรอบนโยบาย อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักการ/ทฤษฎี อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) ด้านความเหมาะสมขององค์ประกอบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48) ด้านความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรม วีดิทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ความเหมาะสมของกระบวนการสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53)

Abstract : 

The objectives of the research were to synthesize the inquiry-based-learning methods in science by integrating a think-pair-share technique for 6th grade students, and to survey the opinion of the experts towards the appropriateness of the inquiry-based-learning method by integrating the think-pair-share technique for the students. The target population was nine experts consisting three science teachers, three education supervisors and three university lecturers. The research instrument was a questionnaire on the appropriateness of the inquiry-based-learning method. The statistics used were mean and standard deviation.
The research results showed that the five components of the inquiry-based-learning method in science by integrating the think-pair-share technique for 6th grade students consisted of policies, theories, integration, indicators and innovation. The overall opinion of the expert towards the appropriateness of the inquiry-based-learning method by integrating the think-pair-share technique was at the highest level. Seven high rated items of the appropriateness for the method were the instructional model (X = 4.52, S.D = .53), policies (X = 4.63, S.D. = .51), principle and theories (X = 4.58, S.D. = .52), learning components (X = 4.58, S.D. .53), indicators (X = 4.71, S.D. = .48), innovation (X = 4.56, S.D. = .53) and inquiry-based learning by integrating the think-pair-share technique (X = 4.53, S.D. = .53) respectively

Keywords : Instructional Model, Inquiry-Based Learning, Think-Pair-Share Technique, Science
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |