Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว โดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ ของกลุ่มเกษตรกรตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of Learning Activities on Lemon Planting Using Practical Process Techniques of Farmer Group in Tha Song Khon, Muang, Maha Sarakham Province
ผู้วิจัย : ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์, ภูษิต บุญทองเถิง และประสพสุข ฤทธิเดช
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเรื่องการปลูกมะนาวของกลุ่มเกษตรกรตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยใช้เทคนิคกระบวนการปฏิบัติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว และ
5) ถอดชุดองค์ความรู้เรื่องการปลูกมะนาว กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการปลูกมะนาว จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของเกษตรกร เรื่องการปลูกมะนาว 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาว 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เกษตรกรที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ 6 หน่วย แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 10 ข้อ ระยะเวลาในการอบรม 6.30 ชั่วโมง และชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 86/92 3) เกษตรกรมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการปลูกมะนาวโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ได้องค์ความรู้ในการปลูกมะนาว แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นความรู้ ขั้นตอนการฝึกฝนให้เป็นไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปยาก ขั้นสาธิตและอธิบายแนะนำ และขั้นจัดให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง

Abstract : 

This research aimed to 1) study problems and needs for lemon planting of farmer group in Tha Song Khon, Muang district, Maha Sarakham province. 2) to develop a series of activities to learn about the lemon planting using practical process technique. 3) compare the achievement of learning about lemon planting. 4) to study the satisfaction of the farmers with learning about lemon planting. and 5) to synthesis the knowledge about growing lemons. The sample consisted of 10 lemon planting farmer in Tha Song Khon, Muang district, Maha Sarakham province. The instruments used in this study were 1) a survey of problems and needs for lemon planting 2) lemon planting activities 3)satisfaction questionnaire and 4) learning knowledge test. The statistics used in this study were mean and standard deviation.
The results were as follows: 1) the farmers had opinions about lemon planting at a high level and had needs for lemon planting at the high level. 2) the developed set of lemon planting activities had 6 units knowledge test with 10 items 6.30 hours for training and the activities had efficiency (E1/E2) of 86.00/92.00 3) farmers had gain in knowledge at the 0.5 level of significance. 4) farmers are satisfied with to learning about lemon planting at the high level. 5) synthesizing knowledge of lemon planting into 4 stages : knowledge, sequence practice from basic to advance, demonstration and explanation , and practical session practice.

Keywords : Development, Activities Packages, Learning, Lemon Planting, Process Technique
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |