Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ
ชื่องานวิจัย (EN) : Guidelines for Nakhawittayakom School Development towards Efficient Learning Organization Using Balanced Scorecard : BSC
ผู้วิจัย : คมณ์ แคนสุข
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ และ 3) เพื่อศึกษาผลการนำแนวทางพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนและอุทยานการเรียนรู้จากโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามทั้ง 20 โรงเรียน และเลือกแบบเจาะจงโรงเรียนนาข่าวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีและมีการนำแนวทางพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และลักษณะ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ระยะที่ 2 กำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ เครื่องมือ ได้แก่ แนวการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ แนวทางการวิเคราะห์องค์กร และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 ศึกษาผลการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพไปใช้ เครื่องมือ ได้แก่ แนวทางการฝึกอบรม โครงการ แบบตรวจติดตามผลการดำเนินงาน แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการประชุมกลุ่มย่อย แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของปัญหา การพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีความต้องการในการพัฒนา และความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) การกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคม สู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพ มี 9 แนวทางดังนี้ 2.1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนาข่าวิทยาคม 2.2) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ 2.3) กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 2.4) กำหนดมุมมอง 2.5) จัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ 2.6) กำหนดตัวชี้วัดตามเป้าประสงค์บนแผนที่ยุทธศาสตร์ 2.7) ระดมกิจกรรม/โครงการใหม่ๆ 2.8) จัดทำแผนปฏิบัติการ และ 2.9) แนวทางการนำแผนสู่การปฏิบัติ และ 3) ผลการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนนาข่าวิทยาคมสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงดุลยภาพไปใช้ พบว่า ตัวชี้วัดของโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ จำนวน 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งเสพติดลดลง ตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (ชุมชนนาข่า) ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ 5 จำนวนหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ตัวชี้วัดที่ 6 ร้อยละของผู้เรียนที่มีความเสี่ยงทางเพศลดลง ตัวชี้วัดที่ 8 ร้อยละ ของครู นักเรียน และชุมชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตภายในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 ร้อยละของผู้เรียนที่มี ส่วนร่วมอนุรักษ์ และพัฒนาป่าชุมชน ตัวชี้วัดที่ 10 ร้อยละของคณะครูที่ได้รับการยกย่องเป็นครูดีเด่นประจำปี และตัวชี้วัดที่ 12 ร้อยละของนักเรียนที่ร่วมทัศนศึกษา ส่วนตัวชี้วัดที่มีผลการประเมิน ไม่บรรลุเป้าหมาย มีจำนวน 3 ตัว ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดที่ 7 จำนวนฐานความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และตัวชี้วัดที่ 11 ร้อยละ ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ

Abstract : 

The aims of this study were 1) to study the current conditions of problems and the characteristics of learning organization, 2) to determine guidelines for Nakhawittayakom School development towards efficient learning organization by using Balanced Scorecard : BSC, and 3) to study the results of experimenting Guidelines for Nakhawittayakom School Development towards Efficient Learning Organization by Using Balanced Scorecard : BSC. The study used the Research and Development Methodology selected to study in 3 Best Practice schools and Knowledge Park 20 schools in Mahasarakham Provincial Administrative Organization and Nakhawittayakom School was selected for experimenting. The study was divided Into three stages : Stage 1 : was the study of the current conditions of problems and the feature of learning organization. The semi-structured interviewing forms and questionnaires were used to gather data. Stage 2 : was the determination of guidelines for Nakhawittayakom School development towards efficient learning organization by using Balanced Scorecard : BSC. The instruments consisted of training guidelines for developing on organization to be learning organization, guidelines for organization analysis, and a recording from for focus group discussion. and Stage 3 : was the study of the results of experimenting guidelines for Nakhawittayakom School Development towards Efficient Learning Organization by Using Balanced Scorecard : BSC. The instruments consisted of training guidelines, projects, a monitoring form of project implementation, questionnaires, a recording form for small group discussion, a project reported form. the data were analysed by using percentage, mean, standard deviation and the qualitative data were analyzed using content analysis.
The results of the research revealed that : the current conditions of problems of development the school into learning organization were at a high level, needed to improve and the participation of stakeholders were important for developing Nakhawittayakom School to be a learning organization. Guidelines for Nakhawittayakom School development towards efficient learning organization using Balanced Scorecard framework consisted of 1) analyzing the context of Nakhawittayakom School 2) setting the school vision missions and goals 3) setting strategy themes 4) setting perspectives, 5) making strategy map, 6) setting key performance indicators according to the goals on the strategy map, 7) creating initiatives projects, 8) doing an action plan, and 9) guidelines of strategy implementation and evaluation were confirming by the experts. For the results of experimenting the guidelines found that there were 9 indicators of the projects achieving the specified goals : the second indicator, the moderation percentage of students who are risky to drugs; the third indicator, the number of local curriculum (Nakha Community), the fourth indicator, increasing percentage of students who love reading; the fifth indicator, the number of school curriculum met the need of students; the sixth indicator, decreasing percentage of students in risk behavior about sexual desire; the eighth indicator, percentage of teachers students and community used internet within school; the ninth indicator, percentage of students participated in preserving and developing community forest; the tenth indicator, percentage of teachers praising to be outstanding teachers; and the twelfth indicator, percentage of students participated in field trips. For the unachieved indicators, there were 3 indicators : the first indicator, the percentage of twelfth grade students increasing in academic achievement; the seventh indicator, number of knowledge base about sufficient economy, and the eleventh indicator, percentage of target group students developed key competencies.

Keywords : Guidelines for School Development, Learning Organization, Balanced Scorecard
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |