Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of a Learning Activities Model to Solve Computer Problems Using the Problem-Based Learning Approach
ผู้วิจัย : สุนันทา กลิ่นถาวร และ ณัฐพงษ์ พันธุ์มณี
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ประเมินรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 คน และ 2) นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 27 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น ค่าประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้ และค่า paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐานที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/80.37 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract : 

This research aimed to 1) develop the learning activities model to solve the computer problems using the problem-based learning approach, 2) to study experts’ opinions about the developed learning activities model, 3) compare pretest and posttest learning achievements, and 4) study the students’ satisfaction with learning via the developed model. The target group included a group of 3 experts who evaluated the developed model and a group of 27 students participated in learning activities. The statistics used were: mean, standard deviation, efficiency and paired t-test.
The results found that 1) the developed learning activities model had an efficiency of 82.00/80.73; 2) the experts agreed to the developed model at the most level; 3) the students showed gains in learning achievements from before learning via the developed model at the .05 level of significance, and 4) the students showed satisfaction with learning via the developed model as a whole at the most level.

Keywords : Learning Activities, Computer Problem Solving, Problem-Based Learning Approach
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |