Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมของประชาชน บ้านโพนวิไซ เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Participatory Forest Resource Conservation of Phonvixay Villagers, Khong District, Champasak Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้วิจัย : ทะนูสิน สีปะพอน, อุทัย โคตรดก และ ศศิธร เชาวรัตน์
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการรักษาทรัพยากรป่าไม้ ในอดีต และศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชนบ้านโพนวิไซ เมืองโขง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนบ้านโพนวิไซ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า อาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และรายได้ต่อเดือน 1,500,000-3,000,000 กีบ 2) กลไกการรักษาป่าไม้ในอดีต อาศัยความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่เป็นบรรทัดฐานของหมู่บ้านที่ใช้สืบทอดต่อกันมา ได้แก่ การไหว้บูชาผีต้นไม้ใหญ่ทุกวันพระ การผูกผ้าสีแดงรอบโคนต้นไม้ใหญ่เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวบ้าน การสาปแช่งคนตัดไม้ทำลายป่า การตั้งเวรยามรักษาป่า 3) การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เป็นรายด้าน พบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความรู้จากการประชุม การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เพื่อป้องกันความรุนแรงของน้ำป่าไหลหลาก การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อมีทรัพยากรไว้ใช้นาน (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ อยู่ในระดับระดับปานกลาง ได้แก่ กิจกรรมปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ (3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การติดตามการแก้ไขปัญหา และการประเมินผลโครงการ (4) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การเสนอปัญหาการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ การเสนอวิธีใช้ทรัพยากรป่าไม้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด และการเสนอวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

Abstract : 

The purposes of the research were to study forest treatment mechanisms in the past, and to study a participatory forest resource conservation of Phonvixay Villagers, Khong district, Champasak province, Lao people’s democratic republic. Key informants in Phonvixay village were interviewed, including the content of analysis for qualitative data. A questionnaire was employed to collect data from the samples, and the statistics of a percentage, a mean, and a standard of deviation for data analysis.
It found that: 1) Most villagers were female, aged 31-40 years old, finished a secondary level or an equivalence, being government officers or state enterprise, and earned monthly income of 1,500,000 -3,000,000 kip. 2) Forest treatment mechanisms in the past were based on superstitious beliefs as in making merit every Buddhist holy day to worship big trees, holding big trees with red clothes for villagers’ peace of mind, cursing deforestation, and having a forest guard. 3) People’s participation in a forest resource conservation as a whole was at the high level. In aspects: (1) Participation in getting benefits was at the high level as in getting higher knowledge of forestry, protecting violent flash floods, having a long term use of forest resources. (2) Participation in implementation was at the moderate level as in participating in reforestation activities in national forest areas, in solving problems of forest resources conservation, and in restoring forest resources. (3) Participation in evaluation was at the moderate level as in monitoring officers’ performance, monitoring problem-solving, and evaluating forest resource and environment conservation projects. (4) Participation in decision making was at the moderate level as in introducing deforestation approaches in concession areas, the use of forest resources to benefit, and the forest resources conservation approaches.

Keywords : กลไก, การอนุรักษ์, การมีส่วนร่วม ทรัพยากรป่าไม้
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |