Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาวของพนักงานรัฐ ด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Developmental Approach for Promoting Lao Silk Purchasing Decision of Law enforcement officer of Pakse district in Champasak Province, Laos PDR
ผู้วิจัย : Latdavanh Silaphet, รังสรรค์ สิงหเลิศ และ อุทัย โคตรดก
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาวของพนักงานรัฐด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานรัฐด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มีผลต่อการจัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาว จำแนกตาม เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา และ
3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาวของพนักงานรัฐด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 199 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามระดับชั้น อย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เพื่อให้มีการกระจายหน่วยตัวอย่างไปในทุก ๆ กลุ่มตามสัดส่วน จึงใช้สูตรในการคำนวณ โดย ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการจัดชั้นภูมิ (Strata) ของหน่วยตัวอย่าง แยกตามกลุ่มโดยการคำนวณหาสัดส่วนหน่วยตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANONA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธี LSD.(Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาวของพนักงานรัฐด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านร้านค้า และ ด้านการขาย และ 4 ด้านอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านปริมาณที่ซื้อ ด้านการชำระเงิน ด้านผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลาว และ โดยรวม 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาวของพนักงานรัฐด้านกฎหมายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างกลุ่มเพศ อายุ รายได้ และ ระดับการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางในการส่งเสริมการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมลาว ได้แก่ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ ต้องการให้พัฒนาการทอผ้าให้มีความแน่นหนากว่าเดิม มีลวดลายที่สวยงามมากขึ้น และ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดสากล เวลาซักแล้วสีไม่ตก สีผ้าไม่เจิดจ้าควรเป็นสีมืดมากกว่า อยากให้มีลายเก่าแก่มาประยุกต์ และอยากให้มีลวดลายประจำเมืองปากเซ (2) ด้านราคา ต้องการให้ลดราคาผ้าไหมลาวลดลงอีก ราคาควรเหมาะสมกับเนื้อผ้าไหม และราคาควรอยู่ในเกณฑ์ 500,000 กีบ -1,250,000 กีบ (2,000 บาท – 5,000 บาท) (3) ด้านการจัดจำหน่าย ต้องการให้มีความสะดวกสบายในการจอดรถง่าย ภายในร้านให้มีอากาศปลอดโปร่งดี ควรมีการจัดกลุ่มสมาคมขายผ้าไหมในเมืองปากเซ การจัดเรียงผ้าไหมควรแยกประเภท (4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ต้องการให้มีการลดแลกแจกแถมเมื่อมีเทศกาลต่างๆ เพื่อคืนกำไรให้แก่ลูกค้า ถ้ามาซื้อซ้ำควรมีส่วนลด อยากให้ภาครัฐมีการส่งเสริมผ้าไหมลาวให้มากกว่าโดยการหาตลาดจำหน่ายที่ต่างประเทศ ควรมีการจัดส่งฟรีทั่วประเทศ ควรมีการจัดประกวดผ้าไหมประจำปีเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผ้าไหม และ อยากให้มีการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ให้มากขึ้น

Abstract : 

The purposes of the current study were 1) to study opinions of law enforcement officers toward Loa silk purchasing decision in Pakse district, Champasak province, Loas PDR., 2) to compare opinions of law enforcement officers toward Loa silk purchasing decision in the area, and 3) to study developmental approach for promoting Lao silk purchasing decision of law enforcement officers in the area. The sampling were 199 law enforcement officers in LOAs PDR selected by proportional stratified random sampling method. The instrument was a set of questionnaire designed in Likert scale. The statistics used in data analysis were Frequency, Mean Score, Percentage, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA using LSD (Least Significant Difference).
The result of the study showed that : 1) the overall satisfaction levels in Loa silk purchasing of law enforcement offers in Pakse district, Champasak province was found at average. Particularly, the aspects of shops and retailing were found the high level while quantity of purchasing, payment methods, and quality of products were found at the average level. 2) Regarding to the comparison of the samplers’ opinions using genders, age, income, and education level as variables, it was found that there were significant differences among the samplers with all 4 variable differences at the statistical level of .05. 3) Developmental approach in promoting Loa silk purchasing decision was found to include the actions in increasing density of textile, increasing more pattern of the products, improving quality of the products in terms of color duration, employing application in the color design, and promoting specific design for the Pakse area. In addition, reduction of the product cost was suggested. In the distribution issues, the provision of appropriate parking area, well-ventilated retail areas, and categorization of retail areas should be provided. In terms of sale promotion, the promotion in festivals, discounting in large buying lots, government assistance in product distribution both international and domestic levels, competition of Loa silk products, media promotion should be supported.

Keywords : แนวทางการส่งเสริม , การตัดสินใจซื้อผ้าไหมลาว
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |