Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ 2561
ชื่องานวิจัย (TH): แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของประชาชนในการกำจัดขยะขององค์การ พัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่องานวิจัย (EN) : Developmental Approach for Satisfaction in Waste Disposal of The Organization Development Official in Pakse District, Champasak Province, LAOs PDR
ผู้วิจัย : พอนพัน สิลาเพ็ด, ธนันชัย สิงห์มาตย์ และ รังสรรค์ สิงหเลิศ
บทคัดย่อ (TH) : 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชน ต่อการจัดการขยะของขององค์การพัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะขององค์การพัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะขององค์การพัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ภายในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ในปี พ.ศ. 2560 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และ แบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 1.76 ถึง 8.573 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งหมดเท่ากับ 0.917 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะขององค์การพัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ส่วนรายด้านคือ ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค อยู่ในระดับปลานกลาง ด้านการจัดการขยะอย่างเพียงพอ ด้านการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง และด้านการจัดการขยะอย่างก้าวหน้า อยู่ในระดับน้อย เรียงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค ด้านการจัดการขยะอย่างเพียงพอ ด้านการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง และด้านการจัดการขยะอย่างก้าวหน้า 2) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะขององค์การพัฒนาบริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ด้านการจัดการขยะอย่างเพียงพอ ด้านการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง และ ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค จำแนกตามระดับการศึกษา คือประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการจัดการขยะอย่างก้าวหน้า มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอาชีพ โดยรวมมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการจัดการขยะอย่างเพียงพอ ด้านการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค และ ด้านการจัดการขยะอย่างก้าวหน้า อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน และ ค้าขาย/ธุรกิจ มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของประชาชนต่อการกำจัดขยะขององค์การพัฒนา บริหารตัวเมือง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก จากมากไปหาน้อย คือ ควรกำหนดระยะเวลาจัดเก็บให้เหมาะสม เพิ่มช่วงเวลาเก็บขยะให้มากขึ้นกว่าเดิม ควรเพิ่มพื้นที่กำจัดขยะให้เพียงพอกับปริมาณขยะและควรมีวิธีกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ พนักงานประจำรถขนขยะควรจัดเก็บถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ควรเพิ่มถังขยะในแต่ละพื้นที่ให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรดูแลสภาพรถขนย้ายขยะเป็นประจำ

Abstract : 

The purposes of the current study were to 1) study level of satisfaction toward waste disposal of the Organization Development Official in Pakse district, Champasak province, LAOs PDR, 2) compare levels of satisfaction toward the disposal, and 3) study developmental approach for waste disposal of the Organization Development Official in the area. The samples were 389 family leaders selected by the accidental sampling and quota sampling method from Pakse district, Champasak province, LAOs PDR. Research instrument was a set of questionnaire designed in 5 Likert scales and proved to have discrimination level between 1.76 to 8.573 and reliability level at 0.917. The data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean Score, Standard Deviation, and One way ANOVA.
The results of the study were as follows : 1) Satisfaction level toward waste disposal of the Organization Development Official in Pakse district, Champasak province, LAOs PDR was found in the low level. Considering each aspect, it was found that equal waste disposal was found in the average level while sufficient waste disposal, continuing waste disposal, and progressive waste disposal were found at the low level. The aspects of equal of waste disposal, sufficient waste disposal, continuing waste disposal, and progressive waste disposal were rated from the most to least satisfying respectively. 2) In the comparison of satisfaction level using educational level and occupation as the variables, it was found that there was no significant difference among the samples with education levels of primary school, secondary school, high school, and diplomat or more in the aspects of sufficient waste disposal, continuing waste disposal, and equal waste disposal while there was a significant difference among the samples of different education levels at statistical level of .05 in the aspect of progressive waste disposal. In the occupation variable, it was found that there was no significant difference among the level of satisfaction of the samples with different occupations over all. However, the significant difference was found in the aspects of continuing waste disposal, equal waste disposal, and progressive waste disposal among the samples with different occupations of government officers, business officers, and business owners at the statistical level of .05. and 3) The developmental approach for waste disposal of the Organization Development Official in the area was found to have the actions in appropriate scheduling of waste disposal, increasing of waste collecting times, provision of areas to match the needs of waste disposal, educating of effective and appropriate waste disposal, hygiene of waste disposal officers, provision of garbage pails, and maintenance of garbage trucks respectively.

Keywords : แนวทางการพัฒนา , ความพึงพอใจต่อการกำจัดขยะ
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |