Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of Multimedia for Local Community by Participation
ผู้วิจัย : อภิดา รุณวาทย์
บทคัดย่อ (TH) : 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีคุณภาพ และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ชุมชน จำนวน 11 คน และ นักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยโมชันกราฟิก จำนวน 2 ตอน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียทำให้ได้โมชันกราฟิก จำนวน 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 โครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก (“x” ̅=4.13, S.D.=0.68) และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (“x” ̅=4.59, S.D.=0.69) และ ตอนที่ 2 ผลการดำเนินโครงการความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กรณีตำบลภูปอ อำเภอเมือง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก (“x” ̅=4.20, S.D.=0.66) และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (“x” ̅=4.57, S.D.=0.68) และ 2) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับมาก (“x” ̅=4.17, S.D.=0.67) และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (“x” ̅=4.48, S.D.= 0.65)

Abstract : 

The purposes of this research were 1) to develop multimedia for the local community by participation and 2) to study the effect of learning activities by community base. The target groups were 3 experts in multimedia development, 11 people in a community and 30 students. The instruments were 2 parts of motion graphic, quality assessment of motion graphic, satisfaction questionnaire, learning achievement, and learner satisfaction. The statistics were used in this study were mean, standard deviation and t-test (dependent samples)
The research findings showed that 1) the multimedia development got 2 parts of motion graphic. Part I: The Project of Integrated Cooperation to Drive Food Security and Food Safety in Karasin Province, the experts’ opinion to the quality of motion graphic Part I was high level and the satisfaction of target group was the highest level and Part II: The results of The Project of Integrated Cooperation to Drive Food Security and Food Safety in Karasin Province case study Phu Pho Sub-district, Muang District, the experts’ opinion of the quality of motion graphic was high level and the satisfaction of target group was the highest level and 2) the effect of learning activities by community base showed that the learning achievement was higher than specified criteria, the multimedia assessment was a high level, and the learner satisfaction on the activities was a high level.

Keywords : มัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |